ข่าวอัพเดด

Facebook page

 

“มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์ สร้างเอกลักษณ์ข้าวไทย ก้าวไกลโภชนาการระดับโลก”

 

บทความ โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว  

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาสู่การปรับปรุงพันธุ์ข้าว พร้อมเสริมกำลังนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ที่มองข้าวเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น ผลดี คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ฝากผลงานโดดเด่นระดับโลกหลายชิ้น ร่วมกับสถาบันวิจัยระดับชาติอย่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (BIOTEC) ในการถอดรหัสและตีความรหัสจีโนมข้าวอย่างสมบูรณ์แบบ ร่วมกับนานาชาติจนส่งผลให้สถานภาพงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยได้ก้าวสู่ยุคต่อไป(Next generation) ได้อย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังตั้งมั่นในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าจำเพาะ ให้มีผลผลิตสูงเหมาะสมกับการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรม จนสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรอีกด้วย

 

 

จุดเริ่มต้นในปี 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวกล้องเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า “ธัญโอสถ” เช่น ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สีนิล(เจ้าหอมนิล),ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงดัชนีน้ำตาลปานกลางเช่น ข้าวสินเหล็ก และได้ร่วมงานกับสถาบันโภชนาการชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยมหิดลในการศึกษา เชิงโภชนาการบำบัดของผลิตภัณฑ์ข้าวโภชนาการสูงเหล่านี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ประกอบกับรสสัมผัสที่ยอดเยี่ยมและสีที่โดนเด่นจึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว (สนับสนุนโดยคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

ในช่วงเวลาเดียวกันทีมนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ยังได้สร้างพันธุ์ข้าวหอมนาชลประทานที่รวมยีนกว่า 10 ตำแหน่ง มารวมไว้ในข้าวหอมปิ่นเกษตร+4 ที่มีผลผลิตสูงกว่า 1 ตันต่อไร่ และมีดัชนีน้ำตาล ต่ำกว่าข้าวบัสมาติที่มีชื่อเสียงของอินเดีย ข้าวหอมปิ่นเกษตร+4จะเป็นความหวังของชาวนาในเขตชลประทานที่ต้องการพันธุ์ข้าวที่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 

กุญแจดอกที่หนึ่ง 
การปลูกข้าวให้เป็นธัญโอสถ นับว่าเป็นกุญแจสู่การตลาดข้าว Premium ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงสุดจากจากมือเกษตรกร เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการปลูกข้าวที่ให้คุณภาพสูง เพราะมีความละเอียดอ่อนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้เกษตรได้มากที่สุด ผลผลิตข้าวอินทรีย์จึงมีคุณภาพที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารรอง, สารต้านอนุมูลอิสระ และ  metabolites ที่เสริมความแข็งแรงตามธรรมชาติของมัน แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวอินทรีย์จำเป็นต้องเริ่มจากชาวนาที่มี “อุดมคติ” จึงจะสำเร็จได้ ในปัจจุบันชาวนาที่มีอุดมการณ์เหล่านี้ได้ถูกระบบการจำนำราคาข้าว ทำลายไปเป็นจำนวนมากอย่างน่าเสียดาย 

 

กุญแจดอกที่สอง
การจัดตั้งโรงสีข้าวธัญโอสถในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการแปรรูปขนาดกลางที่เหมาะสมกับปริมาณการผลิตข้าว ธัญโอสถจากระบบเกษตรอินทรีย์(economy of  scale) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุถุงสำเร็จที่มีคุณภาพสูงสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องจนสามารถ สร้างผลกระทบทางพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง

 

กุญแจดอกที่สาม 
การพัฒนาการตลาดจำเพาะโดยเริ่มจากการวางตำแหน่งของสินค้าในตลาดยอย่างเหมาะสม ด้วยจุดขายที่สำคัญ คือ สีสันที่โดดเด่นมีงานวิจัยด้านคุณค่าทางโภชนาการบำบัด รวมกับรส สัมผัสของข้าวกล้องที่นุ่มนวล กลิ่นหอมเฉพาะตัวจึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีตำแหน่งสูงสุดของตลาดข้าวถุงของไทยในปัจจุบัน

 

กุญแจดอกที่สี่ 
การดำรงให้ระบบการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ประณีต ยั่งยืนต่อไป จำเป็นต้องพัฒนากลไกทางเศรษฐกิจสังคมที่ยุติธรรมมาขับเคลื่อน สินค้าสู่ตลาด premium พร้อมทอนกำไรจากการตลาดสู่มือ  ของเกษตรกรและชุมชนของเขา ดังนั้นเราจึงประยุกต์เอา Social business ร่วมกับ Fair trade และ Contract farming มาขับเคลื่อนองค์กรอันประกอบด้วย “หน่วยงานราชการ”(ธนาคารเพื่อการเกษตรและ  สหกรณ์(ธ.ก.ส.)  สหกรณ์การตลาด(ส.ก.ต.)และศูนย์พัฒนาที่ดิน) “เกษตรกร” (วิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์ต่างๆ) และ “สถาบันการศึกษาและมูลนิธิ” (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ มูลนิธิเพื่อน  พึ่ง(ภาฯ)ยามยาก) ได้ร่วมกันพัฒนา “โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์แบบครบวงจรจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค”ซึ่งมีรูปแบบคล้าย Social enterprise ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกแบบอินทรีย์ที่อยู่ใน  โครงการประมาณ 3,000-5,000 ไร่ และพื้นที่นอกโครงการจำนวนมาก พื้นที่ปลูกกว่า 70% อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าทุกภาค 

 

ผลผลิตนาข้าวในเขตชลประทานที่ประสบปัญหาจากการแข่งขันในตลาดโลกสูงที่สุด เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เป็นแกนนำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีเอกลักษณ์ในเชิงโภชนาการบำบัด นั่นคือ ข้าวขาวดัชนีน้ำตาลต่ำ(สนับสนุนโดย สำนักงานวิจัยการเกษตร)ซึ่งถูกออกแบบให้ผู้บริโภคที่มีปัญหาในการป้องกันเบาหวาน ประเภทที่ 2 หันมาบริโภคข้าวขาวหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวปิ่นเกษตร+4 เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว,ข้าวนึ่ง, อาหารอบกรอบต่างๆ ดัชนีน้ำตาลในข้าวปิ่นเกษตร+4 จากการทดลองในมนุษย์ พบว่ามีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวบัสมาติอย่างชัดเจน ด้วยขนาดและรูปร่างของเมล็ดที่ยาวเรียว,กลิ่นหอม, ผลผลิตสูงและต้านทานโรค/แมลงดีเด่น ทำให้ข้าวปิ่นเกษตร+4เป็นที่สนใจ ในการสร้างโมเดลธุรกิจเชิงสังคมขึ้นมาอีกอัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของข้าวของไทยในการตลาดโลกต่อไป

 

 

  

 

 

 

Reference

Daiponmak, W., Theerakulpisut, P., Thanonkao, P., Vanavichit, A., Prathepha, P. 2010. Changes of anthocyanin cyanidin-3-glucoside content and antioxidant activity in Thai rice varieties under salinity stress. ScienceAsia 36 (4): 286-291.Impact factor 0.398
Leardkamolkarn V, Thongthep W, Suttiarporn P, Kongkachuichai R, Wongpornchai S, Vanavichit A. 2011. Chemopreventive properties of the bran extracted from a newly-developed Thai rice: The Riceberry. Food Chem. 125 (3): 978-985.Impact factor 3.334
Prangthip, P., Surasiang, R., Charoensiri, R., Leardkamolkarn, V., Komindr, S., Yamborisut, U., Vanavichit, A., Kongkachuichai, R. 2013. Amelioration of hyperglycemia, hyperlipidemia, oxidative stress and inflammation in steptozotocin-induced diabetic rats fed a high fat diet by riceberry supplement .Journal of Functional Foods. 5 (1):195-203. Impact factor 2.632
Pitija, K., Nakornriab, M., Sriseadka, T., Vanavichit, A., Wongpornchai, S. 2013. Anthocyanin content and antioxidant capacity in bran extracts of some Thai black rice varieties International Journal of Food Science and Technology. 48 (2):300-308. Impact factor 1.24
Kongkachuichai, R., Prangthip, P., Surasiang, R., Posuwan, J., Charoensiri, R., Kettawan, A., Vanavichit, A. 2013. Effect of Riceberry oil (deep purple oil; Oryza sativa Indica) supplementation on hyperglycemia and change in lipid profile in Streptozotocin (STZ)-induced diabetic rats fed a high fat diet. International Food Research Journal. 20 (2): 873-882

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

 
บริการตรวจวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมระดับจีโนม GENOME ANALYSIS  SERVICES

บริการตรวจวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมระดับจีโนม GENOME ANALYSIS SERVICES


 GENOME ANALYSIS SERVICES Whole Genome sequencing ServiceData output 4 Gb starting at 3,000 THB / 5,000 THB (illumina)  Transcriptome sequencing ServiceData output 8 Gb…

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes