โครงการสร้างศิลปะบนผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1

โครงการ

สร้างศิลปะบนผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1
ประจำปี พ.ศ. 2566

1st Rainbow rice Valley

ติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่เพจ facebook
Rainbow Rice 

ตามที่ได้มีการประกาศเปิดรับสมัครตั้งแต่ 20 มีนาคม ถึง 20 เมษายน 2566 
ประกาศผลรายชื่อผู้ผ่านการประเมินพื้นที่เพาะปลูกข้าวสรรพสี 
ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการสร้างศิลปะบนผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1 ดังนี้
ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2566

 

  1. ว่าที่ ร.ต.ธเนศ แซวหลี (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
  2. กลุ่มวิสาหกิจท่องที่ยวโดยชัมชนโขกู้โส่ (อ.ปาย   จ.แม่ฮ่องสอน)
  3. คุณ ไมตรี แกเกิด (อ.เมือง  จ.แม่ฮ่องสอน)
  4. คุณ ธันยพงศ์ ใจคำ (อ.เทิง จ.เชียงราย)
  5. คุณ อมรา เมฆนันทไพศิฐ (อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ)
  6. คุณ กิตติ สิงหาปัด  (อ.เมือง จ.ขอนแก่น)
  7. อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ ม.เกษตร วิทยาเขตสกลนคร  (อ.เมือง จ.สกลนคร)
  8. คุณ ทิพธิดา สุขุม    (อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา)
  9. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หนองสูงใต้ (อ.หนองสูงใต้  จ.มุกดาหาร)
  10. คุณ นิ่มอนงค์ แก้วไพศาล  (อ.เมือง จ.นครพนม)
  11. คุณ วิทยา เพชรมาลัยกุล     (อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี)
  12. คุณ ไตรศักดิ์ ปัทมรัฐจิรนนท์   (อ.สรรพยา  จ.ชัยนาท)
  13. สวนเบญจกิติ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม (กรุงเทพมหานคร)
  14. คุณ บังอร ผงผ่าน ( อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ)

 

  

 

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

คุณสมบัติของเกษตรกรและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ

  1. มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
  2. เป็นเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรเพื่อสังคม ที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  3. มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมาย หรือเป็นผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน
  4. พื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ หรือพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่มีสิทธิ์รับรอง โดยชื่อที่ระบุในเอกสารสิทธิ์จะต้องเป็นชื่อเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ หรือมีเอกสารรับรองจากเจ้าของเอกสารสิทธิ์
  5. ทำกิจกรรมทางการเกษตรตามระบบเกษตรอินทรีย์
  6. เป็นพื้นที่เพาะปลูกที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมหรือเรียนรู้ได้สะดวก
  7. สามารถเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์แบบประณีตเป็นรูปแบบงานศิลปะได้
  8. มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
  9. สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยแรงงานคนได้
  10. มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเป็นแปลงเดียวกันประมาณ 3 - 5 ไร่ 
  11. สามารถเพาะปลูกข้าวในเดือนกันยายน พ.ศ.2566 และเก็บเกี่ยวเดือนมกราคม พ.ศ.2567 ได้ โดยใช้งบประมาณของเกษตรกรเอง
  12. มีช่วงเวลาที่อากาศมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ยาวนานต่อเนื่องประมาณ 1 เดือน
  13. เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นที่ 1 แล้ว พื้นที่ที่ได้รับคะแนนประเมินสูงสุด 5 อันดับแรกจะได้รับการส่งเสริมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ข้าวสรรพสีและข้าวโภชนาการสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

กิจกรรมและแนวทางปฏิบัติ

  1. ประกาศเงื่อนไข คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการทางเว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว https://dna.kps.ku.ac.th/ เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/Rice.sci.center
  2. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมวางแผนการเพาะปลูกกับทีมนักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
  3. การสนับสนุนจากโครงการ

          3.1 เมล็ดพันธุ์ข้าวสรรพสีในอัตรา 2 กก./ไร่           3.2 คำแนะนำตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูกจนถึงการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว           3.3 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักอย่างกว้างขวาง           3.4 สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าว           3.5 การส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ข้าวสรรพสีและข้าวโภชนาการสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
0851815363 

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes