ข้าวหอมจินดา

Hom Jinda

 

 

ความสำคัญของงานวิจัย :

ข้าวเจ้า “หอมจินดา” ได้จากการผสมข้ามพันธุแบบดั้งเดิมระหว่างข้าวพันธุปทุมธานี 1 เป็นสาย พันธุแม่และข้าวสายพันธุ์ RGD07097-1-MAS-8-9-0-0 เป็นสายพันธุพ่อ ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อปี พ.ศ. 2556 จนได้ลูกผสมรุ่น F1 ปล่อยให้มี การผสมตัวเองได้ลูกรุ่น F2 แล้วคัดเลือกลักษณะทางพันธุกรรมต้นที่มียีนความหอม และยีนด้าน ทานโรคขอบใบแห้งโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล จากนั้นปล่อยให้มีการผสมตัวเองได้ลูกรุ่น F3 นำไป ปลูกเพื่อคัดเลือกต้นที่ออกดอกเร็ว ลักษณะทรงต้นดี รวงใหญ่ การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว โดยวิธีสืบประวัติ ประเมินความสามารถในการต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในรุ่น F3 และ F5 ส่งเมล็ดไปประเมินลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตภายในแปลงทดลองของมูลนิธิรวมใจ พัฒนาในปี พ.ศ. 2560 และ 2561 คัดเลือกได้ข้าวเจ้าหอมนุ่ม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้น แข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 838 กิโลกรัมต่อไร่

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ประเภท:  ข้าวเจ้าหอม ไม่ไวต่อช่วงแสง
  • ต้น: กอตั้ง ลำต้นมีความแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ความสูงของต้นวัดถึงปลายรวง 118 ซม. ปล้องสีเขียว เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5 มม.
  • ใบ: ใบเดี่ยว รูปแถบ กว้าง 1.7 ซม. ยาว 53.5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบ มีขน กาบใบสีเชียว ลิ้นใบสีขาว ปลายแยกสองแฉกยาว 10.43 มม. หูใบสีเชียวอ่อน ข้อต่อใบสีเชียวอ่อน ใบสีเชียวเข้ม มุมใบธงทำมุม 45 องศา กับก้านรวงแนวดิ่ง กว้าง 1.6 ซม. ยาว 41 ซม. ใบแก่ช้า
  • ดอก/ช่อดอก : ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง จำนวนรวงต่อกอ 24 รวง แตกระแง้ปานกลาง คอรวงโผล่ พ้นมาก ก้านรวงอ่อน สีของยอดดอกสีขาว กลีบรองดอก (ดอกย่อย 2 ดอกล่างที่ลด รูปเหลือเฉพาะกาบล่าง) สีฟาง ยอดเกสรเพศเมียสีขาว
  • ระยะเก็บเกี่ยวอายุ 110-120 วัน รวงยาว 22 ซม. เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนสั้น มีหางสั้น เมล็ดข้าวเปลือกกว้าง 2.36 มม. ยาว 10.85 มม. หนา 1.72 มม. เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง 1.98 มม. ยาว 7.07 มม. หนา 1.58 มม. น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 27.2 กรัม จำนวนเมล็ดต่อรวง 171 เมล็ด การติดเมล็ดปานกลาง (75-90 เปอร์เซ็นต์) การร่วงของเมล็ด 1-5 เปอร์เซ็นต์ การนวดเมล็ดร่วงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

 

ลักษณะอื่น ๆ 

  •  ค่าการสลายตัวในด่าง 6 
  •  ค่าความคงตัวแป้งสุก 131 มม.
  •  ค่าความหอม 4.89 ppm
  • ปริมาณอมิโลส 16.77 เปอร์เซ็นต์

 

ลักษณะเด่นพิเศษ:

  • เมล็ดหุงสุกนุ่หอม
  • ต้านทานโรคขอบใบแห้งไอโซเลท TX085 ที่เก็บจาก จ.สุรินทร์ และเชื้อไอโซเลท TX0155 ที่เก็บจาก จ.นครปฐม

ข้อมูลสำหรับติดต่อ:

  • ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)
    อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
    เบอร์โทร 0 2564 6700 ต่อ 3329-3331

งานวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าว

บทความล่าสุด

ข่าวสารอัพเดด

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes