ข้าวหอมมะลิ 80

Hom Mali 80

 ทีมนักวิจัยดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80 ผ่านบรูณาการวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเน้นการใช้เทคนิคโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอในการคัดเลือก (DNA Marker Assisted Selection) ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับ (Backcrossing) เพื่อถ่ายทอดยีนที่ทนน้ำท่วมซึ่งทีมวิจัยค้นพบบนโครโมโซมที่ 9 เข้าสู่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 วิธีการดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกและย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ลง ผลจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าว ทำให้ได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มียีนทนน้ำท่วมฉับพลันเพิ่มเติมเข้ามา โดยยังคงลักษณะคุณภาพการหุงต้มและความอร่อยของข้าวขาวดอกมะลิไว้ (ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ) 

 

 

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 80


ข้าวหอมมะลิ 80 ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับร่วมกับการคัดเลือกด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย ของยีนควบคุมความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นนำสายพันธุ์ที่ได้ไปทดสอบความทนทานต่อน้ำท่วมในพื้นที่ซึ่งประสบปัญหาในจังหวัดต่างๆ พร้อมกับทำการประเมินการยอมรับของเกษตรกรที่เคยปลูกขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ดั้งเดิมในปี พ.ศ. 2550   ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสายพันธุ์หอมมะลิ 80 นี้แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงประทานช่วยเหลือหรือเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมฉับพลัน

 

 

 ลักษณะประจำพันธุ์


  •  ความสูงประมาณ        
155 ซม. 
  • จำนวนรวงต่อกอประมาณ (นาดำ)        
10 – 12 รวง 
  • ปริมาณอะไมโลส                  
14-15%
  • ระดับค่าการสลายตัวในด่าง       
1.7% KOH
  • พันธุ์ข้าว ปลูกได้เฉพาะนาปี
ไวแสง
  • การเกิดท้องไข่ประมาณ          
0.8
  • ลำต้น
สีเขียวจาง 
  • ข้าวเปลือกคล้ายขาวดอกมะลิ 105
สีฟาง
  • ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
 
  • เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง  2.1  ยาว 7.2  หนา 1.7 (มม.)
 
  • ข้าวเจ้าหอม
 
  • ทนน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต
 
 
 
 
 

คุณสมบัติทางโภชนาการในข้าวกล้อง
  • ค่าการยืดตัวของแป้งสุกประมาณ (ขาวดอกมะลิ 105 อยู่ที่ 70 – 85 ม.ม.)
70 - 95 มม.
  • เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว ใกล้เคียงพันธุ์ขาวดอกมะลิ105
63% 
  • คุณภาพข้าวสุก ความนุ่ม และกลิ่นหอม คล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ105
 
   
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

งานวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าว

บทความล่าสุด

ข่าวสารอัพเดด

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes