โครงการสร้างศิลปะบนผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1

(1st Rainbow rice Valley)

ประจำปี พ.ศ. 2566

เปิดรับสมัครเกษตรกรทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการ

20 มีนาคม - 20 เมษายน 2566 

 

 

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

คุณสมบัติของเกษตรกรและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ

  1. มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
  2. เป็นเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรเพื่อสังคม ที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  3. มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมาย หรือเป็นผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน
  4. พื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ หรือพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่มีสิทธิ์รับรอง โดยชื่อที่ระบุในเอกสารสิทธิ์จะต้องเป็นชื่อเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ หรือมีเอกสารรับรองจากเจ้าของเอกสารสิทธิ์
  5. ทำกิจกรรมทางการเกษตรตามระบบเกษตรอินทรีย์
  6. เป็นพื้นที่เพาะปลูกที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมหรือเรียนรู้ได้สะดวก
  7. สามารถเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์แบบประณีตเป็นรูปแบบงานศิลปะได้
  8. มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
  9. สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยแรงงานคนได้
  10. มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเป็นแปลงเดียวกันประมาณ 3 - 5 ไร่ 
  11. สามารถเพาะปลูกข้าวในเดือนกันยายน พ.ศ.2566 และเก็บเกี่ยวเดือนมกราคม พ.ศ.2567 ได้ โดยใช้งบประมาณของเกษตรกรเอง
  12. มีช่วงเวลาที่อากาศมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ยาวนานต่อเนื่องประมาณ 1 เดือน
  13. เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นที่ 1 แล้ว พื้นที่ที่ได้รับคะแนนประเมินสูงสุด 5 อันดับแรกจะได้รับการส่งเสริมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ข้าวสรรพสีและข้าวโภชนาการสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

กิจกรรมและแนวทางปฏิบัติ

  1. ประกาศเงื่อนไข คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการทางเว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว https://dna.kps.ku.ac.th/ เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/Rice.sci.center
  2. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมวางแผนการเพาะปลูกกับทีมนักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
  3. การสนับสนุนจากโครงการ

          3.1 เมล็ดพันธุ์ข้าวสรรพสีในอัตรา 2 กก./ไร่
          3.2 คำแนะนำตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูกจนถึงการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
          3.3 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักอย่างกว้างขวาง
          3.4 สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าว
          3.5 การส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ข้าวสรรพสีและข้าวโภชนาการสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

วิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการ

  1. ให้ผู้มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการกรอกแบบฟอร์มใบสมัครออนไลน์ 
  2. เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับใบสมัคร มีดังนี้

          2.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร หรือหัวหน้ากลุ่มจำนวน 1 ใบ
          2.2 สำเนาโฉนดที่ดินที่จะเข้าร่วมโครงการ
          2.3 ภาพถ่ายแปลงนาที่จะเข้าร่วมโครงการ
          2.4 สำเนาเอกสารรับรองการทำเกษตรอินทรีย์จากองค์กรรับรองการทำเกษตรอินทรีย์ หรือ จดหมายรับรองว่า “ได้ดำเนินกิจกรรมทางเกษตรอินทรีย์จริง” จากเกษตรอำเภอในพื้นที่ของผู้สมัคร
          2.5 ภาพถ่ายดาวเทียมที่ตั้งแปลงใน Googlo map 

         

 

  1. กด “ส่งใบสมัคร” พร้อมแนบเอกสารตาม ข้อ 2.1 - 2.5 

  ส่งสมัครออนไลน์ (คลิก) 

 

   *เมื่อโครงการฯ ได้รับใบสมัครแล้ว คณะกรรมการจะทำการตรวจสอบ เมื่อคุณสมบัติและเอกสารครบถ้วนแล้ว(ทั้งข้อ 3 และ 4)
**ใบสมัครใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามคุณสมบัติของเกษตรกรและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ จะได้รับการติดต่อกลับจากคณะกรรมการและประกาศในเว็บไซต์ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 10.00-12.00 น.
***หากข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไป 

 

การคัดเลือกบุคคลและพื้นที่เข้าร่วมโครงการ

  1. คัดเลือกผู้สมัครและพื้นที่ที่ผ่านหลักเกณฑ์ จำนวน 10 แปลงเพาะปลูก
  2. ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 10.00 น. ทางเว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว https://dna.kps.ku.ac.th/ , เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/Rice.sci.center
  3. คำตัดสินของคณะกรรมการการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
0851815363

 

 

 

 

 

 

 

 

นักธุรกิจท่านใดที่สนใจ จับคู่ธุรกิจ (Business Matching)กับกลุ่มผู้ผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ และผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่

เพื่อต่อยอดนำข้าวไรซ์เบอร์รี่ส่งจำหน่าย หรือสนใจนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และทำเป็นแบรนด์ตัวเอง พบกันได้ที่งาน โครงการ"เพื่อนพึ่ง(ภา) อิ่มสุข ไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ ก้าวไกล ระหว่างวันที่ 9-14 สิงหาคม 2559 @ Lifestly Hall ชั้น 2 สยามพารากอน ท่านที่สนใจขอเชิญลงทะเบียนจับคู่ธุรกิจ ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยคลิ้กที่ลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ

 

  ข้อมูลบริษัท
OrganicHerbs at Chiangrai ชุมชนวอรุม  สบู่ภูภัสรา
 Prasertsombat Rice&logistics Co.,Ltd.   KCG Corporation   N.R. RAMA CO.,LTD 
NATUREFOOD HOUSE      

 

 

 

คลิกลงทะเบียน

 

 

 

 

“โครงการ เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) อิ่มสุข ไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ ก้าวไกล” ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งภายในงานนี้จะมีการจัดนิทรรศการและตลาดอิ่มสุข ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันที่ 8-14 สิงหาคม 2559 ปัจจุบันหลายๆ คน โดยเฉพาะคนรักสุขภาพคงจะรู้จักข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นอย่างดีซึ่ง ไรซ์เบอร์รี่นั้นคือข้าวพันธุ์ดี ฝีมือคนไทย ซึ่งถูกวิจัยขึ้นโดยรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว หัวหน้าศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรและเลขานุการศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาตินั่นเองการกำเนิดข้าวไรซ์เบอร์รี่นั้นเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งถือว่าเป็นพันธุ์พ่อ และ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่เป็นพันธุ์แม่ โดยได้ลักษณะที่ดีและเด่นออกมาเป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อไรซ์เบอร์รี่นั่นเอง

 

 

ข้าวไทยสีม่วงอย่างข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณประโยชน์ด้านโภชนาการมากมาย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงทั้งชนิดที่ละลายในน้ำและละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินอี แกมมา-โอไรซานอล โพลีฟีนอล แทนนิน เบต้าแคโรทีน โฟเลต โอเมกา-3 ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และมีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง โดยเฉพาะรำข้าวและน้ำมันรำข้าวนั้นก็มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม และบำรุงร่างกายชะลอความแก่ ได้เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์จะทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณสูงตามลักษณะพันธุ์มากที่สุด

 

โดยการจัดงานโครงการ “เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) อิ่มสุข ไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ ก้าวไกล” จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนการจัดนิทรรศการ และการจับคู่ธุรกิจ Business Matching และอีกหนึ่งส่วนแยกย่อย นั่นก็คือตลาดอิ่มสุข จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจากหลากหลายสายพันธุ์มาให้เลือกซื้อกันอีกด้วย

 

ในส่วนการจัดนิทรรศการ จะมีทั้งส่วนของการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งจะนำเสนอพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับข้าว ในรูปแบบพระบรมฉายาลักษณ์ พระราชพิธีทำขวัญข้าว รวมไปถึงการนำเสนอพระราชกรณียกิจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่เกี่ยวข้องกับข้าว เพื่อถ่ายทอดและสืบสานพระราชปณิธานจากอดีตถึงปัจจุบันจาก “สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงไทย” ถึง “แม่หลวงของแผ่นดิน” ทั้งยังเล่าประวัติความเป็นมา และความสำเร็จโครงการเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) อิ่มสุข ไรซ์เบอร์รี่ อินทรีย์ ก้าวไกล ซึ่งในส่วนนี้จะมีการนำเสนอบุคคลตัวอย่าง เกษตรกร ผู้ประกอบการ และเครือข่ายของโครงการฯ ที่ได้รับความสำเร็จจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ในการประกอบอาชีพ และทำธุรกิจอีกด้วย

 

นอกจากนั้น ในส่วนของการจัดนิทรรศการ ยังมีส่วนที่สำคัญอีกสองส่วนนั่นก็คือส่วนของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่มีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบสดๆ และส่วนของกิจกรรมเด่น (Highlight) ภายในงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไรซ์เบอร์รี่ Cooking, สาธิตผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ทุกประเภท, ไรซ์เบอร์รี่บอกเล่าเก้าสิบ, ไรซ์เบอร์รี่มิวสิคการ์เด้นและไรซ์เบอร์รี่นิวส์

 

ในด้านธุรกิจ นอกจากจะมีการจับคู่ธุรกิจ Business Matching เพื่อต่อยอดข้าวไรซ์เบอร์รี่สู่สากล แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการสัมมนา แนะนำให้ความรู้กับผู้ประกอบการในหัวข้อการวางแผนทางธุรกิจ การออกแบบแบรนด์ และแพคเกจ การตลาด และการตลาดออนไลน์ เพื่อให้นักธุรกิจไทยก้าวไกลทั่วโลก โดยงานทั้งหมดนี้จะถูกจัดขึ้นที่ LIFESTYLE HALL ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน แต่กิจกรรมภายในงานยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะยังมีกิจกรรมดีๆ อย่างตลาดอิ่มสุข ที่จะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคต่างๆ จากทั่วประเทศมาให้ประชาชนที่เดินทางไปร่วมงานได้ช็อป ชิม ชิล กันอย่างมากมาย ที่ลาน Parc Paragon อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คลิกลงทะเบียน

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวอัพเดด

Facebook page updates

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

 

ยินดีตอนรับเว็บไซต์
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ได้มีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes