บทความ

งานวิจัยและองค์ความรู้

อนุมูลอิสระ(Free Radicle) มาจากไหน

โดย ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อ.ริญ เจริญศิริ , รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร, นายศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์ 
สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล, ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

 

อนุมูลอิสระ(Free Radicle)
คือโมเลกุลหรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากขาด อิเลกตรอน ซึ่งโดยปกติในร่างกายของเรามีโมเลกุลหรืออะตอมที่มีอิเลคตรอนอยู่เป็นจำนวนคู่ ในกรณีที่ร่างกายมีการสูญเสียอิเลคตรอนจากการถูกอนุมูลอิสระแย่งจับ จะทำให้โมเลกุลของเซลล์ในร่างกายไม่เสถียร ขาดความสมดุล ซึ่งส่งผลทำให้เซลล์ร่างกายเสียหายได้

อนุมูลอิสระมาจากไหน?
แหล่งภายนอก ได้แก่ มลพิษในอากาศ โอโซน ไนตรัสออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่น ควันบุหรี่ อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว แสงแดด ความร้อน รังสีแกมม่า และแหล่งภายใน ได้แก่อนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างขึ้น
ตัวอย่างของ อนุมูลอิสระ ได้แก่

 - O2- Superoxide anion อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์
- OH- Hydroxyl radicle อนุมูลไฮดรอกซิล
- ROO Peroxy radicle อนุมูลเปอร์ออกซี
- H2O2 Hydrogen Peroxide ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- Lipid Peroxyl, LO2 ลิปิดเปอร์ออกซี

อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์ได้อย่างไร

อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์ เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตหรือได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอที่จะไปยับยั้งหรือไปจับอนุมูลอิสระได้ภายในเซลล์ของร่างกาย ผลคือทำให้เซลล์เกิดความเสียหายและนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง หัวใจและหลอดเลือด แก่ก่อนวัย ต้อกระจก และโรคอื่นๆ  เช่น อนุมูลอิสระไปทำลายผนังหลอดเลือดแดง และเมื่อมีไขมันไปสะสมอยู่ในบริเวณหลอดเลือดแดงที่ถูกทำลาย จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด แต่ถ้าเราได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอ สารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปป้องกันหรือแย่งที่จับกับอนุมูลอิสระ และนำอนุมูลอิสระเหล่านั้นไปทิ้งนอกเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่ถูกทำลาย

ร่างกายจึงมีกลไกที่จะกำจัดสารอนุมูลอิสระได้ 2 วิธี คือ
1. การใช้เอนไซม์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อจับกับอนุมูลอิสระ เช่นเอ็นไซม์ superoxide dismutase (SOD) เอ็นไซม์ catalase glutathione peroxidaes แต่ร่างกายมักสร้างไม่เพียงพอ เซลล์จึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น และเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น การสร้างสารต้านอนุมูลอิสระจะลดลง ในขณะที่อัตราการเกิดอนุมูลอิสระยังเท่าเดิม ผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดโรคต่างๆมากมาย

2. การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร เช่นวิตามิน อี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอลต่างๆ เช่น แทนนิน แคทซิชิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงโคเอนไซม์คิวเท็น (CoenzymeQ10) หรือโคคิวเท็น (Co Q10) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่ออื่นๆ เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) โดยจัดเป็นสารจำพวกวิตามิน หรือคล้ายวิตามิน และมีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นตัวหนึ่งในการเริ่มปฏิกิริยาเคมีเพื่อสร้างพลังงาน ในร่างกาย จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานตลอดเวลา สำหรับบุคคลทั่วไป แม้ว่าร่างกายจะสร้าง CoQ10 ได้เอง แต่ความสามารถนี้จะลดลง เมื่ออายุ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ปริมาณที่ร่างกายต้องการกลับไม่ลดลง

จากข้อมูลในการทำวิจัยเบื้องต้นพบว่าน้ำมันรำข้าวที่ผ่านการสกัดเย็นเป็นแหล่งที่ดีของ CoQ10 เช่นกัน และมีหลายการศึกษาพบว่า CoQ10 มีบทบาทที่สำคัญต่อการรักษาโรคทาลัสซีเมีย นอกจากนี้ CoQ10 ยังช่วยลด oxidative stress ทำให้มีการต้านอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองที่เกิดจาก oxidative stress โดย CoQ10 จะทำหน้าที่ stabilizing mitochondria membrane ด้วยเหตุนี้ CoQ10 จึงอาจเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม ได้แก่ โรคพาร์กินสัน โรค Friedreich's Ataxia

 

ดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า ข้าวนับว่าเป็นธัญญาหารที่มหัศจรรย์ กล่าวคือในตัวข้าวเองมีคุณค่าทางโภชนาการอยู่บนทุกอณูของเมล็ด ทั้งเนื้อข้าว รำข้าว หรือจมูกข้าว ดังนั้นเราควรกินข้าวให้ครบทุกส่วนของเมล็ด เพื่อชีวิตที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคเรื้อรังต่างๆ และมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว

บทความล่าสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes