“มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์ สร้างเอกลักษณ์ข้าวไทย ก้าวไกลโภชนาการระดับโลก”
บทความ โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นำความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์มาสู่การปรับปรุงพันธุ์ข้าว พร้อมเสริมกำลังนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวรุ่นใหม่ที่มองข้าวเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น ผลดี คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ฝากผลงานโดดเด่นระดับโลกหลายชิ้น ร่วมกับสถาบันวิจัยระดับชาติอย่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (BIOTEC) ในการถอดรหัสและตีความรหัสจีโนมข้าวอย่างสมบูรณ์แบบ ร่วมกับนานาชาติจนส่งผลให้สถานภาพงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยได้ก้าวสู่ยุคต่อไป(Next generation) ได้อย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังตั้งมั่นในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าจำเพาะ ให้มีผลผลิตสูงเหมาะสมกับการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรม จนสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรอีกด้วย
จุดเริ่มต้นในปี 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวกล้องเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า “ธัญโอสถ” เช่น ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สีนิล(เจ้าหอมนิล),ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงดัชนีน้ำตาลปานกลางเช่น ข้าวสินเหล็ก และได้ร่วมงานกับสถาบันโภชนาการชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยมหิดลในการศึกษา เชิงโภชนาการบำบัดของผลิตภัณฑ์ข้าวโภชนาการสูงเหล่านี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ประกอบกับรสสัมผัสที่ยอดเยี่ยมและสีที่โดนเด่นจึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว (สนับสนุนโดยคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ในช่วงเวลาเดียวกันทีมนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ยังได้สร้างพันธุ์ข้าวหอมนาชลประทานที่รวมยีนกว่า 10 ตำแหน่ง มารวมไว้ในข้าวหอมปิ่นเกษตร+4 ที่มีผลผลิตสูงกว่า 1 ตันต่อไร่ และมีดัชนีน้ำตาล ต่ำกว่าข้าวบัสมาติที่มีชื่อเสียงของอินเดีย ข้าวหอมปิ่นเกษตร+4จะเป็นความหวังของชาวนาในเขตชลประทานที่ต้องการพันธุ์ข้าวที่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค กุญแจดอกที่หนึ่ง
กุญแจดอกที่สอง กุญแจดอกที่สาม
กุญแจดอกที่สี่
ผลผลิตนาข้าวในเขตชลประทานที่ประสบปัญหาจากการแข่งขันในตลาดโลกสูงที่สุด เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เป็นแกนนำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีเอกลักษณ์ในเชิงโภชนาการบำบัด นั่นคือ ข้าวขาวดัชนีน้ำตาลต่ำ(สนับสนุนโดย สำนักงานวิจัยการเกษตร)ซึ่งถูกออกแบบให้ผู้บริโภคที่มีปัญหาในการป้องกันเบาหวาน ประเภทที่ 2 หันมาบริโภคข้าวขาวหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวปิ่นเกษตร+4 เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว,ข้าวนึ่ง, อาหารอบกรอบต่างๆ ดัชนีน้ำตาลในข้าวปิ่นเกษตร+4 จากการทดลองในมนุษย์ พบว่ามีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวบัสมาติอย่างชัดเจน ด้วยขนาดและรูปร่างของเมล็ดที่ยาวเรียว,กลิ่นหอม, ผลผลิตสูงและต้านทานโรค/แมลงดีเด่น ทำให้ข้าวปิ่นเกษตร+4เป็นที่สนใจ ในการสร้างโมเดลธุรกิจเชิงสังคมขึ้นมาอีกอัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของข้าวของไทยในการตลาดโลกต่อไป
|
Reference
Daiponmak, W., Theerakulpisut, P., Thanonkao, P., Vanavichit, A., Prathepha, P. 2010. Changes of anthocyanin cyanidin-3-glucoside content and antioxidant activity in Thai rice varieties under salinity stress. ScienceAsia 36 (4): 286-291.Impact factor 0.398
Leardkamolkarn V, Thongthep W, Suttiarporn P, Kongkachuichai R, Wongpornchai S, Vanavichit A. 2011. Chemopreventive properties of the bran extracted from a newly-developed Thai rice: The Riceberry. Food Chem. 125 (3): 978-985.Impact factor 3.334
Prangthip, P., Surasiang, R., Charoensiri, R., Leardkamolkarn, V., Komindr, S., Yamborisut, U., Vanavichit, A., Kongkachuichai, R. 2013. Amelioration of hyperglycemia, hyperlipidemia, oxidative stress and inflammation in steptozotocin-induced diabetic rats fed a high fat diet by riceberry supplement .Journal of Functional Foods. 5 (1):195-203. Impact factor 2.632
Pitija, K., Nakornriab, M., Sriseadka, T., Vanavichit, A., Wongpornchai, S. 2013. Anthocyanin content and antioxidant capacity in bran extracts of some Thai black rice varieties International Journal of Food Science and Technology. 48 (2):300-308. Impact factor 1.24
Kongkachuichai, R., Prangthip, P., Surasiang, R., Posuwan, J., Charoensiri, R., Kettawan, A., Vanavichit, A. 2013. Effect of Riceberry oil (deep purple oil; Oryza sativa Indica) supplementation on hyperglycemia and change in lipid profile in Streptozotocin (STZ)-induced diabetic rats fed a high fat diet. International Food Research Journal. 20 (2): 873-882