หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำเอกลักษณ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprinting)ก็ไม่อาจป้อง กันขโมย ได้การโคลนยีนที่ควบคุมกลิ่นของข้าวพันธุ์นี้จึงเป็นหนทางที่ดีที่ สุดเมื่อมีการจดสิทธิบัตรยีนเอาไว้ด้วยแล้ว ย่อมเป็นการบันทึกเอกลักษณ์ ที่มีอิทธิพลมากที่สุด ความกังวลในอีกประการหนึ่งคือการใช้เทคโนโลยี GMO สร้างข้าวหอมให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าข้าวขาวดอกมะลิซึ่งน่าจะ เป็นการแข่งขันที่น่ากลัวที่สุด แต่ปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นเจ้าของยีน และเทคโนโลยีการสร้างกลิ่นหอมในข้าว แต่เพียงผู้เดียวในโลกย่อมเป็น เครื่องมือที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการปกป้องข้าวขาวดอกมะลิของเราไปได้อีกอย่างน้อย 20 ปี ก่อนที่วิทยาการของไทยจะเข้มแข็งกว่านี้
การปรับปรุงเทคโนโลยีใหญ่ที่ทำให้ประเทศไทยมีความได้ เปรียบในการแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรม
1. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมให้มีลักษณะที่ดีขึ้นทำให้ประเทศไทยมีพันธุ์ ข้าวหอมที่มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมได้ มากขึ้น ในอีกมุมหนึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าว หอมไทยในตลาดโลกต้นทุนการผลิตข้าวหอมก็น่าจะถูกลงซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรและกับการแข่งขันในตลาดโลก
2. การได้รับคำรับรองสิทธิบัตรยีนความหอมและการนำไปใช้ประโยชน์ทำ ให้ประเทศไทยสามารถจะควบคุมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมโดยใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม(GMO)ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแข่งขันในตลาดโลก การที่ประ เทศไทยสามารถจะควบคุมการพัฒนาข้าวGMOหอมไม่ให้มาแย่งตลาดข้าว หอมมะลิของไทยยิ่งเป็นการเสริมขีดความสามารถของข้าวหอมมะลิไทยให้มีความสามรถในการแข่งขันต่อไปในอนาคต
หอมมะลิ ๘๐
เริ่มจากปี 2550 เมื่อไบโอเทค / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / กรมการข้าว ได้ร่วมกันน้อมเกล้า ถวายข้าวขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม แด่สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกว่า หอมมะลิ ๘๐ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชันษาครบ 80 พรรษา ด้วยเมล็ดพันธุ์เริ่มต้น 5 ตัน สมาพันธ์ เกษตรอินทรีย์ได้ทำการส่ง เสริมข้าวหอมมะลิ ๘๐ ไปสู่เกษตรกรได้มาก กว่า 1000 ไร่ จนสามารถสร้าง ผลกระทบได้ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท โดยไม่ ได้พึ่งพากลไกการส่งเสริมของรัฐ แต่อย่างใด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของสาย พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิที่จะมีความ ต้านทานมากขึ้น และเป็นการทำให้คน ทั่วไปประจักษ์แล้วว่า เราไม่จำเป็น ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) จากต่างประเทศ
หอมมะลิ ๘๔
ความสำเร็จที่ท้าทายยิ่งกว่าหอม มะลิ ๘๐ คือ การรวบยอดยีน ต้านทานโรคขอบใบแห้งตำ- แหน่งที่ 21 และเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลตำแหน่งที่ 4 และ 10 เข้าไว้ด้วยกันนับเป็นความ พยายามที่ใช้เวลายาวนานบนเงื่อนไขของเทค โนโลยีที่ยังไม่ สมบูรณ์แบบ แต่ในที่สุด ข้าวหอมมะลิ ๘๔ ก็จะปรากฎสู่สายตาของ เกษตรกร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับ การระบาดของเพลี้ยกระโดด และ ขอบใบแห้งในเวลานี้ ข้าวหอมมะลิ ๘๔ ก็ยังคงความเป็นข้าวหอม มะลิไทยอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ
เหนียวกข 6
กอบกู้ข้าวเหนียวกข 6 จาก โรคไหม้ ทุกปีข้าวเหนียวกข 6 ได้ถูกทำลาย โดยโรคไหม้คอรวงจนในบางปีผล ผลิตของข้าวเหนียวนี้ได้รับผลกระทบ อย่างมากจากความพยายามในการ ถ่ายทอดยีนต้านทานโรคไหม้ที่ถูกค้น พบโดยหน่วยปฏิบัติการฯ (Sirithunya et al 2002.) เข้าสู่ข้าวเหนียว กข6 จนมาสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2551และได้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรในเขตภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ คือ สกลนคร, นครพนม และชัยภูมิรวมทั้ง ภาคเหนือ คือ ลำปาง, น่าน และเชียงราย รวมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1000 ไร่ และได้สร้าง ผลกระทบประมาณ 10 ล้านบาท ในเวลา 2 ปี ด้วยคุณภาพข้าวเหนียวที่ ถูกใจคนไทย และความทนทานโรคไหม้เชื่อแน่ว่าข้าวเหนียวหอมมะลินี้ จะได้รับการยอมรับจาก เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
หอมชลสิทธิ์
ข้าวหอมชลสิทธิ์ถูกพัฒนาเพื่อผืน นาชลประทานที่มีปัญหาน้ำท่วมฉับ พลันในสภาพปรกติ ข้าวหอมชลสิทธิ์ เป็นข้าวผลผลิตสูง มีกลิ่นหอม เมล็ดยาว นิ่มนวล แต่มีความแตก ต่างจากขาวดอกมะลิอย่างชัดเจนที่ อุณหภูมิแป้งสุก หอมชลสิทธ์ สามารถทนอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 2 - 3 สัปดาห์แล้วฟื้นตัวได้ หลังน้ำลด ซึ่งโดยปกติพันธุ์ข้าวทั่วไปจมน้ำตายภาย ใน 1 สัปดาห์ ความทน ทานนี้เป็นระดับความทนทานที่อายุของต้นข้าว ประมาณ 21 วัน หรือระยะ ต้นกล้า แต่ถ้าต้นข้าวมีอายุมากกว่าระดับความ ทนทานก็จะมากขึ้นไปด้วย สายพันธุ์นี้ได้ทำการเผยแพร่และส่งเสริมให้ปลูก ในพื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงต่อ สภาวะน้ำท่วมฉับพลันคือจังหวัดพิจิตร, อุตรดิตถ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, อยุธยา ผ่านกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และ เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นขณะนี้ (ปี2551) มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมชลสิทธ์อยู่กว่า 1,500 ไร่
ผลลัพธ์งานวิจัยที่แท้จริง
บทบาทที่สำคัญที่สุดของหน่วยปฏิบัติการ คือ การสร้างขีดความสามารถ ด้านบุคลากรวิจัยของประเทศ กลยุทธ์ในการสร้างบุคลากรของหน่วยปฏิบัติ การฯ คือการฝึกให้นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ได้เข้ามามีบทบาทในการ ร่วมวิจัยกับอาจารย์ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการได้ผลิตบัณฑิต ปริญญาโทไปแล้ว 20 คน และปริญญาเอก 11 คน รวมทั้งนักศึกษาจาก ประเทศเพื่อนบ้าน 2 คน (ปริญญาโท) นักศึกษาที่จบจากหน่วยปฏิบัติการมี บทบาทสำคัญในหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้าไม่ใช่เพราะความ พยายาม ทุ่มเท และอดทนไม่ย้อท้อต่ออุปสรรคของบุคลากรในหน่วย ปฏิบัติการฯ แล้วก็ไม่สามารถก้าวกระโดดจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบเดิม ไปสู่ยุคจีโนมิคส์ ที่โดดเด่นของประเทศได้