Riceberry: the Key to Innovative Nutraceutical Rice-based Products

Prof. Apichart Vanavichit, Ph.D.1, 2, 3
1Rice Science Center, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus,
2Rice Gene Discovery Unit, National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC),
3Department of Agronomy, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen,
Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus

 

 

วันนี้ถือว่าคนไทยที่รู้จักข้าวไรซ์เบอร์รี่มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้สร้างอะไรให้สังคมไทยบ้าง? ผู้บริโภคได้รู้จักข้าวพันธุ์นี้ที่ความเด่นชัดในรูปรสและคุณค่าทางโภชนาการได้สร้างความตระหนักรู้คุณค่าของข้าว ที่นอกจากจะทำให้เราอิ่มกายแล้วยังทำให้เราอิ่มใจได้อีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคยอมรับคุณค่าของข้าวกล้อง จุดเปลี่ยนนี้ที่ทำให้เจตนคติ (mindset) ของการทานข้าว ของเราเปลี่ยนไป ความยอมรับการบริโภคข้าวกล้องจะช่วยแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ (non-communicable diseases, NCD) ได้อย่างถาวร ความโดดเด่นของสีหรือ รงควัตถุ (pigment) เป็นจุดเปลี่ยนเจตนคติที่ 2 ที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมโยงสีม่วงกับคุณค่าทางโภชนาได้เป็นอย่างดี ทำให้เรามองหาอาหารที่อุดมไปด้วย รงควัตถุ ตามธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากความตื่นตัวในการผลิต พืชผักผลไม้ที่มีรงควัตถุ สีม่วง-แดงออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากขึ้น

 

Today marks the ten years when Thais learn about Riceberry. What has Riceberry done so far for Thai society? Consumers know Riceberry by distinctive appearance, nutritional value, and perception that not only fill our stomach but also fill our heart.  Making consumers accept the nutritional benefit of whole grains is the change of mindset about rice consumption.  Consuming whole grain can provide a sustainable solution to non-communicable disease (NCD). The appealing of natural color or pigment is the second mindset changing that cause consumer to better link purple pigment with nutritional properties in cereals, fruits, and vegetables. 

 

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ถูกวางตำแหน่ง ในระบบเกษตรและอาหารอินทรีย์ ด้วยคุณสมบัติทางโภชนาการ การผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ในระบบเกษตรอินทรีย์ ยิ่งทำให้คุณค่าทางอาหารเหล่านี้โดนเด่นขึ้นไปอีก ทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นความหวังของเกษตรกรในระบบแต่อย่างไรก็ตามความตื่นตัวของเกษตรกรได้ทำให้เกิดความผันผวนด้านราคาและในที่สุดการผลิตกับการตลาดได้เข้าสู่สมดุลที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

Riceberry was positioned in an organic culture and food.  With its nutritional properties, Riceberry production under the organic system will enhance nutrient contents distinctively.  As a consequence, Riceberry becomes their hope.  However, the farmers’ enthusiasm caused price fluctuation.  And finally, the production quantity and consumer market

 

 

รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ : แหล่งสะสมสารออกฤทธิ์เชิงเวชกรรม 


รำข้าวมีอยู่ 3 เฉดสี คือ สีน้ำตาล สีแดง และสีม่วง-ดำ รำข้าวที่มีสีแดงมีรงควัตถุสีแดงอิฐ  (Cyaniding-3-glucoside) ส่วนรำข้าวที่มีสีม่วง-ดำ ประกอบด้วยรงควัตถุสีแดงปนน้ำเงิน (Delphinidin-3-glucoside) ในอัตราส่วนต่าง ๆจากชั้นเซลล์บางๆที่หุ้มเนื้อแป้ง (endosperm) ได้กลายมาเป็นหัวข้อวิจัยที่ทำให้มีการค้นพบสารออกฤทธิ์ใหม่ๆในข้าว รำข้าวประกอบไปด้วย dietary fiber, โปรตีน, น้ำมัน, วิตามันบีรวม, phytosterol, ธาตุอาหารหลักและรอง, สารต้านอนุมูลอิสระ, anthocyanin และ polyphenol.

สารออกฤทธิ์:การสกัดสารออกฤทธิ์จากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ทำโดยใช้ตัวทำละลาย1, ultrasonic2, และ enzymes3 โดยใช้ dichloromethane (DC) และ methanol (ME) ทำให้มีการค้นพบสารออกฤทธิ์จากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่หลายตัวพบว่าในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีการสะสมเบต้าแคโรทีน(Beta-Carotene) และลูทีน (Lutein) อยู่ในปริมาณ 185 และ 224 mg/100g ซึ่งไม่พบในข้าวขาวทั่วไป นอกจากนี้ยังพบสารต่อต้านมะเร็งคือ โพลีฟีนอล(Polyphenol), แทนนิน(Tannin) และ แคเทชิน (Catechin) อยู่ในปริมาณ 946 mg/g, 201 mg/g  และ 439 mg/100g หรือ 3-10 เท่า ของที่พบในข้าวกล้องทั่วไปอีกทั้งเรายังพบวิตามิน B1, B2, B3 และ B9 ในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะในกลุ่มโฟเลต (Folate) รำข้าวสีม่วงเข้มสะสมโฟเลตในปริมาณ 48 mg/100g

 

มะเร็ง:ในกลุ่ม Flavones พวก apigenin, phytosterolsและ Triterpeneพวก Lupeolที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง สำไส้ใหญ่ (CaCo2) มะเร็งเต้านม (MCF-7) และ มะเร็งเม็ดเลือดขาว (LD-60)1, 4 , สารออกฤทธ์จาก Riceberry bran gramisterolมีผลยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว (acute myelogenous leukemia)5 .

 

โรคเบาหวานแบบที่ 2(T2D):มีสาเหตุจากการเสื่อมของเซลล์ตับอ่อน (B cell) หรือการดื้อต่อ insulin (insulin tolerance) ทำให้ insulin ไม่สามารถกำกับเซลล์กล้ามเนื้อที่นำเอา glucose ไปใช้ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้ความสามารถในการเก็บ glucose ในรูป glycogen ลดลงด้วยจนเป็นเหตุให้ glucose หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดเป็นจำนวนมากในการทดลองใช้หนูที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานทั้งประเภท 1 และ 2 พบว่าการเสริมอาหารโดยใช้รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในสัดส่วน 1.5-9% ของน้ำหนักตัวใน 1 เดือนได้ช่วยลดปัญหา glucose เกินในกระแสเลือดและทำให้การทำงานของตับและตับอ่อนดียิ่งขึ้นลดปัญหา insulin tolerance โดยเพิ่ม antioxidant,  ลด apoptosis ของ beta cell และ ปรับปรุงการทำงานของตับและตับอ่อนให้ดียิ่งขึ้น6

 

แก้อาการแพ้ยา:สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีฤทธิ์เป็น antioxidants ที่ทรงส่งพลัง ในผู้ป่วยที่แพ้ยา Gentamicin ซึ่งเป็น antibiotic ที่ใช้ควบคุม gram negative bacteriaพบว่าการใช้สารออกฤทธิ์จากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่สามารถชะลอการเกิด Gentamicin-induced hepatoxicityและยับยั้ง renal dysfunction ที่เป็นผลข้างเคียงจาก Gentamicin-induced neprotoxicity7, 8 

 

 

 

Riceberry bran: Natural chemopreventive mines 


Rice bran contains different flavonoid pigments for light brown (leucoanthocyanin), red (cyanidin-3-glucoside anthocyanin), and navy blue(delphinidin-3-glucoside anthocyanin) in various compositions.  From thin cell layers wrapping around the endosperm became research topics for discovering new biologically active compounds in rice.  Rice bran is rich in dietary fiber, proteins, fatty acids, phytosterols, vitamins, minerals, antioxidants, anthocyanin, and polyphenols.

 

Bioactive compounds: Extracting biologically active compounds can be done using solvents1, ultrasonic2, and enzymes3.  By using dichloromethane (DC) and methanol (ME), chemoprotective compounds were identified.  Riceberry bran accumulates beta-carotene and lutein in 185 and 224 mg/100g, respectively, which do not normally found in white rice.  Also, chemoprotective compounds such as polyphenol, tannin, and catechin were identified in 946 mg/g, 201 mg/g, and 439 mg/100g, respectively, or 3-10 times of that found in normal brown rice.  Furthermore, vitamin B1, B2, B3, and B9 were also found in high amount, particularly, in dark purple Riceberry contains in 48 mg/100g of folate (B9). 

 

Chemoprotective compounds: Flavones like apigenin, phytosterols, and triterpenes like lupeol are capable of preventing cancer cells such as colon Caco-2, breast MCF-7, and white blood LD-601, 4. Gramisterol, bioactive compounds from Riceberry bran prevented acute myelogenous leukemia5.

 

Type II diabetes (T2D): T2D caused by degeneration of pancreatic B cells causing insulin resistance preventing insulin from conducting serum glucose into myocytes.  Moreover, T2D prevents liver cells from the conversion of unused serum glucose into glycogen causing hyperglycemia.  In experimentally induced T1D and T2D rat populations, supplementing Riceberry bran in 1.5-9% body weight for one month, ameliorated hyperglycemia and improving liver and pancreatic activities avoiding insulin tolerance by enhancing antioxidants, reducing apoptosis of B cells, and significantly improving functions of liver and pancreas6

 

Attenuation of drug side-effects: Powerful antioxidants from Riceberry bran attenuated gentamicin, an effective gram-negative bacteria antibiotic, from induction of hepatoxicity and nephrotoxicity causing renal dysfunction, the side-effects of gentamicin7, 8

 

 

 

 

 

 

ขับไขมันเลวด้วยไขมันดีจาก ไรซ์เบอร์รี่


แม้รำข้าวจะประกอบด้วยน้ำมันเพียง8 - 10 % แต่กระบวนการสกัดแบบเย็นคือไม่ใช้ตัวทำละลาย (hexane) ได้ช่วยเก็บสารออกฤทธิ์เชิงเวชกรรมเอาไว้ได้ เช่น gramisterol, gamma oryzanol, Vitamin E, Beta - Carotene และ Lutein ในภาพรวม น้ำมันรำข้าวมีปริมาณของ antioxidant ที่ละลายในน้ำมันในระดับสูง

 

ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงมีโอกาสเกิดสภาวะหัวใจล้มเหลวสูง ในการศึกษาการใช้น้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบระยะสั้นและระยะยาว (8 สัปดาห์) พบว่า กลุ่มที่ได้น้ำมันรำข้าว ไรซ์เบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีระดับ LDL (ไชมันเลว) ลดลง ในขณะเดียวกันมี HDL (ไขมันดี) เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจลดลงน้ำมันรำข้าว ไรซ์เบอร์รี่ยังมีผลต่อหนูที่เป็น Thalassemia เป็นเวลา 2 เดือนพบว่ามีผลต่อสารต้านอนุมูลอิสระสูง พร้อม CoQ10 ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ทำให้หนูดังกล่าวมีสุขภาพดีขึ้น

 

 

Replacing bad with good cholesterol from Riceberry


Although rice bran contains only 8-10% oil, non-solvent oil pressing technology preserving chemoprotective compounds such as gramisterol, gamma oryzanol, vitamin E, beta-carotene, and lutein.  As such, rice bran oil is the source of high lipid-soluble antioxidants.

 

Patients with hyperlipidemia have a high chance for heart diseases.  In short and long-term (8-week) studies using Riceberry bran oil, patients treated with Riceberry bran oil showed high antioxidant lipids, lower LDL, the bad cholesterol, and higher HDL, the good cholesterol, than the control group9.  Also, treating induced-Thalassemic rat with Riceberry bran oil preventing oxidative stress while improving antioxidant and CoQ10 prolong life-span of such Thalassemic rats.

 

 

ความนิยมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่


 การแปรรูปขั้นปฐมภูมิ: ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้รับความนิยมในการแปรรูปในทุกระดับ เกษตรกรแปรรูปข้าวเปลือกที่เหลือจากการขายให้กับโรงสีต่างๆ มาแปรรูป โดยใช้เครื่องสีขนาดเล็ก เพื่อนำไปขายปลีก สร้างรายได้เพิ่มได้มากกว่า 10-20 บาทต่อ กก. ในระดับอุตสาหกรรมข้าวไรซ์เบอร์รี่ถูกจำหน่ายในรูปแบบบรรจุถุง สุญญากาศ 1 กก. มีการออกแบบรูปแบบที่สวยงาม สร้างรายได้เพิ่มไม่ต่ำกว่า 20-40 บาทต่อ กก. ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 108 brands

 

การแปรรูปขั้นสูง:  แม้จะมีการปลูกไม่มากเท่ากับข้าวหอมมะลิ แต่มีผลิตภัณฑ์ที่มีข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมอยู่ ไม่ต่ำกว่า 66 ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากยังไม่ทราบสัดส่วนผสม, ต้นทุน, ราคาขาย และปริมาณการขาย จึงทำให้การประเมินมูลค่าเพิ่มยังไม่ชัดเจนในช่วงปี 2556- 2561 ได้ทำการสืบค้นจำนวนและชนิดสินค้าที่ลงทะเบียนจัดจำหน่ายโดยฐานข้อมูล Global New Product Database <www.gnpd.com>เปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากข้าวกล้องหอมมะลิข้าว, ไรซ์เบอร์รี่,ข้าวแดงและข้าวดำชนิดอื่นๆพบว่ามีจำนวนสินค้าแปรรูปจากข้าวไรซ์เบอร์รี่มากขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาส่วนในปี 2560-61 จำนวนผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่มีมากกว่าข้าวชนิดอื่นๆ (รูปที่ 1) ดังนั้นจึงนับว่าเป็นความสำเร็จของข้าวไรซ์เบอร์รี่ในฐานะวัตถุดิบใหม่ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้บริโภค สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความนิยมในการแปรรูปข้าวให้กับผู้บริโภคไรซ์เบอร์รี่คือมีงานวิจัยจำนวนมากกว่า 65 โครงการที่โฟกัสไปที่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และมีการยื่นจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่จำนวน 39 รายการและมี 18 รายการที่ได้ประกาศแล้ว http://patentsearch.ipthailand.go.th/DIP2013/simplesearch.php

 

 

 

 

The popularity of Riceberry product development


Primary products: Riceberry is very popular among farmers to process over-produced paddies into whole-grain vacuum-packed rice using small-scale milling and packaging.  Direct sales to consumers, farmers gained additional 10-20 B per kg than the wholesale of paddies to rice milling.  In the mainstream market, there were no less than 108 brands of 1-kg vacuum packed Riceberry on supermarket shelves. 

 

Advance products: With smaller acreage than Thai Hommali Rice (THM), Riceberry has been popularly used for at least 66 products.  Because of the lack of mixture ratio, production cost, sale price, and amount of sale, economic value addition was not accurate. Between 2013-2018, searching for numbers and types of registered products in the Global New Product Database <www.gnpd.com>revealed interesting outcomes.  By comparing products developed from THM, red rice, and other purple rice, Riceberry products were increasing yearly since 2013 and outperform THM from 2017 to 2018 (Figure 1).  Such successful product development may not only stem from its appealing and taste but also more researches on product development using Riceberry has been so popular as well.  In total, 65 research projects were focused on using Riceberry for product development while 39 patents were applied and 18 patents were endorsed  http://patentsearch.ipthailand.go.th/DIP2013/simplesearch.php

 

 

 


รูปที่ 1
กราฟแสดงจำนวนผลิตภัณฑ์จากข้าวชนิดต่างๆเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2018(ไตรมาสที่ 2) จากการสืบค้นในฐานข้อมูล Global New Products
Figure 1 Comparison of numbers of registered products from various types of rice in the Global New Product Database from the year 2013 to 2018

 

 

ลิขสิทธิ์ทางปัญญาของคนไทยเพื่อคนไทย


เพื่อคุ้มครองคุณภาพของข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้เป็นข้าวที่ดีที่สุด ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้รับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (Plant Variety Protection)เอาไว้แล้วรวมทั้งการจดเครื่องหมายการค้า (รูปที่ 2) ที่แสดงเอกลักษณ์ของสินค้าเอาไว้ในประเทศไทยและประเทศคู่ค้าเพื่อเป็นการคุ้มครองความเป็น Riceberry เอาไว้ให้กับคนไทยขณะนี้กำลังขอยื่นจดเครื่องหมายรับรองคุณภาพของสินค้าข้าวไรซ์เบอร์รี่เอาไว้อีกด้วย

รูปที่ 2 เครื่องหมายการค้าข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่จดไว้ในประเทศไทยและประเทศคู่ค้า
Figure 2 Registered trademarks of Riceberry in Thailand and the partner countries.

 

 

Intellectual properties own by Thai aim for Thai


Protecting intellectual properties, Riceberry was endorsed under plant variety protection (PVP) law since 2017.  Also, Riceberry trademarks were successfully registered locally and internationally under the Department of Intellectual Properties since 2011. For products made out of Riceberry (Figure 2).  Both IPs were owned by public institutes and can be licensed to use for product competitiveness in the global market.    

 

 

Organic Riceberry Valley


โครงการพัฒนาระบบการผลิตข้าวโภชนาการสูงแบบอินทรีย์ครบวงจรจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคได้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต้องการยกระดับฐานะของชาวนาให้อยู่ดีกินดีขึ้น มีความมั่นคงทางรายได้ และส่งเสริมให้เกิดการทำนาแบบอินทรีย์ให้เป็นกลุ่มก้อนอย่างจริงจัง โครงการส่งเสริมการเพาะปลูกแบบอินทรีย์เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ใน 12 พื้นที่เป้าหมายบริเวณภาคเหนือ และ อิสาน ของประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกับการผลิตข้าวคุณภาพสูง จนถึงปัจจุบันมีการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆได้แก่ เกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน (transitional), เกษตรอินทรีย์ไทยแลนด์, IFOAM, EU, COR, และ USDA ไม่ต่ำกว่า 20,000 ไร่ การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ทำให้เกษตรกรมีกำไรประมาณ 6,500 บาทต่อไร่ มีกำไรเฉลี่ยต่อครอบครัว 32,500บาทต่อฤดูกาล

 

Developing health concern products requires not only good processing but also traceability to organic paddy.  Certified organic Riceberry valley has been established in 12 focus areas around the north and northeast of Thailand where the weather is permissive to high-quality rice.  At present, approximately 20,000 Rai of the organic-cultivated area is registered on various types of organic certification programs including transitional, organic Thailand, IFOAM, EU, COR, and USDA.  The return to investment on farmland was estimated at 6.500 B per Rai with an average benefit of 32,500 B per season. 

 

คำขอบคุณ


ในปี 2561 นี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบรางวัลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบในระดับสูงสุด (platinum) ให้แก่คณะนักวิจัยของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว คณะผู้วิจัยต้องขอขอบพระคุณคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่สนับสนุนโครงการบูรณาการพัฒนาพันธุ์ข้าวและการศึกษาด้านคลินิกของข้าวไรซ์เบอร์รี่ มาโดยตลอด

 

Concluding remarks


Riceberry has made strong product innovation, economics, and social impacts, connecting organic cultivation to healthy food and cosmetic products now and the future.  This year, Kasetsart University endorsed the Riceberry integrated projects the Platinum award for topping the socio-economic impact in Thailand.  The research team would like to express immense gratitude for the National Research Council of Thailand and all relevant funding agencies for financial support to the integrated projects from the beginning.

 

 

 

เอกสารอ้างอิง/Reference

  1. Leardkamolkarn V, Thongthep W, Suttiarporn P, Kongkachuichai R, Wongpornchai S, Vanavichit A. Chemopreventive properties of the bran extracted from a newly-developed Thai rice: The Riceberry Food Chemistry. 2011;125 (3): 978-985.
  2. Peanparkdee M, Yamauchi R, Iwamoto S. Characterization of Antioxidants Extracted from Thai Riceberry Bran Using Ultrasonic-Assisted and Conventional Solvent Extraction Methods. Food and Bioprocess Technology. 2018; 11(4): 713-722.
  3. Thamnarathip P, Jangchud K, Jangchud A, Nitisinprasert S, Tadakittisarn S, Vardhanabhuti B. Extraction and characterisation of Riceberry bran protein hydrolysate using enzymatic hydrolysis. International Journal of Food Science and Technology. 2016; 51(1): 194-202.
  4. Suttiarporn P, Chumpolsri W, Mahatheeranont S, Luangkamin S, Teepsawang S, Leardkamolkarn V. Structures of phytosterols and triterpenoids with potential anti-cancer activity in bran of black non-glutinous rice. Nutrients. 2015; 7(3): 1672-1687.
  5. Somintara S, Leardkamolkarn V, Suttiarporn P, Mahatheeranont S. Anti-tumor and immune enhancing activities of rice bran gramisterol on acute myelogenous leukemia. PLoS ONE. 2016; 11(1): e0146869.
  6. Prangthip P, Surasiang R, Charoensiri R, Leardkamolkarn V, Komindr S, Yamborisut U, Vanavichit A, Kongkachuichai R. Amelioration of hyperglycemia, hyperlipidemia, oxidative stress and inflammation in steptozotocin-induced diabetic rats fed a high fat diet by riceberry supplement. Journal of Functional Foods. 2013; 5(1): 195-203.
  7. Arjinajarn P, Pongchaidecha A, Chueakula N, Jaikumkao K, Chatsudthipong V, Mahatheeranont S, Norkaew O, Chattipakorn N, Lungkaphin A. Riceberry bran extract prevents renal dysfunction and impaired renal organic anion transporter 3 (Oat3) function by modulating the PKC/Nrf2 pathway in gentamicin-induced nephrotoxicity in rats. Phytomedicine. 2016; 23(14): 1753-1763.
  8. Arjinajarn P, Chueakula N, Pongchaidecha A, Jaikumkao K, Chatsudthipong V, Mahatheeranont S, Norkaew O, Chattipakorn N, Lungkaphin A. Anthocyanin-rich Riceberry bran extract attenuates gentamicin-induced hepatotoxicity by reducing oxidative stress, inflammation and apoptosis in rats. Biomedicine and Pharmacotherapy. 2017; 92: 412-420.
  9. Posuwan J, Prangthip P, Leardkamolkarn V, Yamborisut U, Surasiang R, Charoensiri R, Kongkachuichai R. Long-term supplementation of high pigmented rice bran oil (Oryza sativa L.) on amelioration of oxidative stress and histological changes in streptozotocin-induced diabetic rats fed a high fat diet; Riceberry bran oil. Food Chemistry. 2013;138 (1): 501-508.

 

ข่าวสารและกิจกรรม

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

 

งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes