[ลงทะเบียนต้องการปลูกข้าวหอมสยาม]
ข้าวเจ้าพันธุ์ “หอมสยาม” เป็นข้าวเจ้าหอมนุ่ม ไวต่อช่วงแสง ที่มีความสูงปานกลาง ให้ผลิตสูง มีคุณภาพการหุงต้มดีเหมือนขาวดอมะลิ 105 ต้านทานต่อโรคไหม้และสภาวะแล้งด้วยลักษณะทางกายวิภาคของรากที่แตกต่างจากขาวดอกมะลิ 105 ได้จากการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก ระหว่างข้าวสายพันธุ์แม่ “RGD03068-2-9-1-B (RGD03068)” ที่มีลักษณะทนแล้ง กับข้าวสายพันธุ์พ่อ “แก้วเกษตร” ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานต่อโรคไหม้ ทรงกอตั้ง ต้นเตี้ย ในปี 2553 ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สวทช.
ลักษณะพิเศษ
ข้าวหอม นุ่ม ไวต่อช่วงแสง เมล็ดมีกลิ่นหอม นุ่มอร่อยคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ105 มีลำต้นที่แข็งแรง ไม่หักล้มง่าย
ความสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ และทนแล้ง
ลักษณะประจำพันธุ์ |
ข้าวขาวดอกมะลิ 105 |
ข้าวเจ้าหอมสยาม |
ความไวต่อช่วงแสง |
ไวต่อช่วงแสง |
ไวต่อช่วงแสง |
ความสูง |
150 เซนติเมตร |
120 เซนติเมตร |
ทรงกอ |
กอแบะ ประมาณ 45 องศา |
กอตั้ง |
ความแข็งของลำต้น |
อ่อน ง่ายต่อการหักล้ม |
แข็ง ไม่หักล้ม |
จำนวนกอ |
ประมาณ 11 กอ |
ประมาณ 15 กอ |
ความยาวรวง |
28 เซนติเมตร |
28 เซนติเมตร |
จำนวนรวงต่อกอ |
10 รวง |
13 รวง |
จำนวนเมล็ดต่อรวง |
140 เมล็ด |
220 เมล็ด |
ลักษณะเมล็ด |
เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนสั้น |
เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนสั้น |
ความยาวข้าวเปลือก |
10.60 มิลลิเมตร |
10.56 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวกล้อง |
7.50 มิลลิเมตร |
7.35 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวสาร |
7.20 มิลลิเมตร |
7.21 มิลลิเมตร |
ปริมาณอมิโลส |
16.7 เปอร์เซ็นต์ |
17.5 เปอร์เซ็นต์ |
ค่าการสลายตัวในด่าง |
6 (ต่ำ) |
7 (ต่ำ) |
ค่าความคงตัวแป้งสุก |
66.5 มิลลิเมตร |
71.3 มิลลิเมตร |
ความนุ่ม |
นุ่ม |
นุ่ม |
ความหอม |
1.44 ppm |
1.19 ppm |
ผลผลิตเฉลี่ย |
250 กิโลกรัมต่อไร่ |
530 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเมล็ด |
ขาวดอกมะลิ 105 |
หอมสยาม |
ความยาวข้าวเปลือก |
10.60 มิลลิเมตร |
10.56 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวกล้อง |
7.50 มิลลิเมตร |
7.35 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวสาร |
7.20 มิลลิเมตร |
7.21 มิลลิเมตร |
ปริมาณอมิโลส |
16.7 เปอร์เซ็นต์ |
17.5 เปอร์เซ็นต์ |
ค่าการสลายตัวในด่าง |
6 (ต่ำ) |
7 (ต่ำ) |
ค่าความคงตัวแป้งสุก |
66.5 มิลลิเมตร |
71.3 มิลลิเมตร |
ผลผลิต
ข้าวหอมสยาม มีผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มากกว่า 50% เนื่องจากมีจำนวนองค์ประกอบผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ จำนวนหน่อต่อกอ เพิ่มมากขึ้นจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 คิดเป็น 27% และจำนวนเมล็ดต่อรวง เพิ่มมากขึ้นจากข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 คิดเป็น 36% ขณะที่ข้าวหอมสยามมีความสูงลดลง ประมาณ 20% ลำต้นแข็ง ไม่หักล้ม ในขณะที่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หักล้ม จะทำให้ผลผลิตเสียหายไป 50%
(Yield of Hom Siam increased more than 50% compared with KDML105 due to the 36% increase in number of seed per panicle and 27% increase in tiller number. Hom Siam is also resistant to lodging due to strong stem and decrease in height by 20% compared with KDML105.)
ระบบราก
ในสภาพปกติมีน้ำขัง ข้าวหอมสยาม มีจำนวนรากมากกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 50% และในสภาพแล้ง ข้าวหอมสยาม มีจำนวนรากมากกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 20% และยังมีระบบรากลึกซึ่งช่วยในการดูดน้ำและธาตุอาหารเพื่อรักษาการเจริญเติบโตและผลผลิต
(Under well-watered condition, Hom Siam has total root number 50% more than KDML105. Under drought stress, Hom Siam has a total root number of 20% than KDML105 and maintain more deep roots and that help in maintaining water status in the rice plant and contributes to the increase of biomass under stress)
สภาพปกติมีน้ำขัง | สภาพแล้ง |
ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ความต้านทานโรค
ข้าวหอมสยาม มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง
ลงทะเบียน
ประสงค์ปลูกข้าวหอมสยามของเกษตรกร ในฤดูปลูก 2565
[ลงทะเบียนคลิก]