โครงการสร้างศิลปะบนผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1 (1st Rainbow rice Valley) ประจำปี พ.ศ. 2566
ตามที่ได้มีการประกาศเปิดรับสมัครตั้งแต่ 20 มีนาคม ถึง 20 เมษายน 2566
ประกาศผลรายชื่อผู้ผ่านการประเมินพื้นที่เพาะปลูกข้าวสรรพสี
ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการสร้างศิลปะบนผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1 ดังนี้
ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2566
- ว่าที่ ร.ต.ธเนศ แซวหลี (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
- กลุ่มวิสาหกิจท่องที่ยวโดยชัมชนโขกู้โส่ (อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน)
- คุณ ไมตรี แกเกิด (อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน)
- คุณ ธันยพงศ์ ใจคำ (อ.เทิง จ.เชียงราย)
- คุณ อมรา เมฆนันทไพศิฐ (อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ)
- คุณ กิตติ สิงหาปัด (อ.เมือง จ.ขอนแก่น)
- อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ ม.เกษตร วิทยาเขตสกลนคร (อ.เมือง จ.สกลนคร)
- คุณ ทิพธิดา สุขุม (อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา)
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หนองสูงใต้ (อ.หนองสูงใต้ จ.มุกดาหาร)
- คุณ นิ่มอนงค์ แก้วไพศาล (อ.เมือง จ.นครพนม)
- คุณ วิทยา เพชรมาลัยกุล (อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี)
- คุณ ไตรศักดิ์ ปัทมรัฐจิรนนท์ (อ.สรรพยา จ.ชัยนาท)
- สวนเบญจกิติ สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม (กรุงเทพมหานคร)
- คุณ บังอร ผงผ่าน ( อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ)
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติของเกษตรกรและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ
- มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- เป็นเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรเพื่อสังคม ที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
- มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมาย หรือเป็นผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน
- พื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ หรือพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่มีสิทธิ์รับรอง โดยชื่อที่ระบุในเอกสารสิทธิ์จะต้องเป็นชื่อเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ หรือมีเอกสารรับรองจากเจ้าของเอกสารสิทธิ์
- ทำกิจกรรมทางการเกษตรตามระบบเกษตรอินทรีย์
- เป็นพื้นที่เพาะปลูกที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมหรือเรียนรู้ได้สะดวก
- สามารถเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์แบบประณีตเป็นรูปแบบงานศิลปะได้
- มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
- สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยแรงงานคนได้
- มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเป็นแปลงเดียวกันประมาณ 3 - 5 ไร่
- สามารถเพาะปลูกข้าวในเดือนกันยายน พ.ศ.2566 และเก็บเกี่ยวเดือนมกราคม พ.ศ.2567 ได้ โดยใช้งบประมาณของเกษตรกรเอง
- มีช่วงเวลาที่อากาศมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ยาวนานต่อเนื่องประมาณ 1 เดือน
- เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นที่ 1 แล้ว พื้นที่ที่ได้รับคะแนนประเมินสูงสุด 5 อันดับแรกจะได้รับการส่งเสริมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ข้าวสรรพสีและข้าวโภชนาการสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กิจกรรมและแนวทางปฏิบัติ
- ประกาศเงื่อนไข คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการทางเว็บไซต์ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว https://dna.kps.ku.ac.th/ เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/Rice.sci.center
- ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมวางแผนการเพาะปลูกกับทีมนักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
- การสนับสนุนจากโครงการ
3.1 เมล็ดพันธุ์ข้าวสรรพสีในอัตรา 2 กก./ไร่ 3.2 คำแนะนำตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูกจนถึงการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว 3.3 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักอย่างกว้างขวาง 3.4 สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมกำจัดโรคและแมลงศัตรูข้าว 3.5 การส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ข้าวสรรพสีและข้าวโภชนาการสูงของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
0851815363