ข้าวปิ่นเกษตร + 5

ข้าวเจ้า “พันธุ์ปิ่นเกษตร+5 มาจากการผสมกลับระหว่างข้าวปิ่นเกษตร+4 และข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายจำนวน 2 คู่ผสม คู่ผสมที่ 1 ใช้ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร4#78A03 เป็นสายพันธุ์รับ (สายพันธุ์แม่) และข้าวสายพันธุ์ให้ (สายพันธุ์พ่อ) คือ ข้าวพันธุ์กลายที่มีความหนาแน่นปากใบต่ำ (Mu8756)  คู่ผสมที่ 2 ใช้ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร4#117A08 เป็นสายพันธุ์รับ (สายพันธุ์แม่) และข้าวสายพันธุ์ให้ (สายพันธุ์พ่อ) คือ ข้าวพันธุ์กลายที่มีขนาดปากใบเล็ก (Mu3117) ทำการผสมข้ามพันธุ์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “Climate ready rice: Optimising transpiration to protect rice yields under abiotic stresses” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช และ BBSRC-Newton Fund Partnerships เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยได้ลูกผสมรุ่น F1 จากทั้ง 2 คู่ผสม ในปี 2561         คัดเลือกต้น F1 ที่แท้จริง (ผสมข้ามสำเร็จ) ทำการผสมกลับต้น F1 เข้าหาข้าวปิ่นเกษตร+4 ซึ่งเป็นพันธุ์รับ (recurrent parent) ได้ BC1F1 คัดเลือก BC1F1 จากแต่ละคู่ผสมที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมาย ได้แก่ ยีนต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน อมิโลส  อุณหภูมิแป้งสุก กลิ่นหอม และยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะปากใบของข้าว โดยใช้ MAS  ในปี 2561  หลังจากนั้นทำการผสมกลับ BC1F1 ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว เข้าหาปิ่นเกษตร4 อีกครั้งหนึ่ง ได้ BC2F1 คัดเลือก BC2F1 ที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมาย ในปี 2562  จากนั้นปล่อยให้ BC2F1 ผสมตัวเองได้ BC2F2 ปลูกและคัดเลือกต้นที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมายในปี 2562   และปล่อยให้ผสมตัวเองอีกครั้งหนึ่งได้ BC2F3  

ในระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ได้ปล่อยให้ต้น  BC1F1 บางส่วนผสมตัวเอง ได้ BC1F2  โดยคัดเลือกและปล่อยผสมตัวเองจนถึงรุ่น BC1F4  จากนั้นได้คัดเลือกทั้งประชากร BC2F3  และ BC1F4 จากทั้ง 2 คู่ผสม มาทำการประเมินประสิทธิภาพของการคัดเลือกด้วย MAS โดยทำการทดสอบความต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน ความหนาแน่นของปากใบ จากนั้นได้ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ ในปี 2563 รวมทั้งได้มีการนำสายพันธุ์ข้าวไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร

ข้าวสายพันธุ์ปิ่นเกษตร+5 ที่เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่คัดเลือกได้ จำนวน 12 สายพันธุ์ เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน มีทั้งสายพันธุ์ที่เมล็ดข้าวกล้องสีขาว และสีน้ำตาล และมีอมิโลส อุณหภูมิแป้งสุก แตกต่างกันขึ้นกับสายพันธุ์

 

 

 

สายพันธุ์คงตัว ปิ่นเกษตร+5 มี สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่า 1ตัน/ไร่ โดยทุกพันธุ์เป็นข้าวหอมที่ต้านทาน FBBB มีความเชื่อกันโดยทั่วไปว่าความหนาแน่นของปากใบสูงสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตสูง แต่จากการปรับปรุงพันธุ์ครั้งนี้ พบว่ามีพันธุ์ปรับปรุงที่มีความหนาแน่นของปากใบต่ำ ที่ให้ผลผลิตสูงและอายุเก็บเกี่ยวใกล้เคียงสายพันธุ์ให้ลักษณะปากใบต่ำ เช่นพันธุ์ ปิ่นเกษตร+5# 4E1 ให้ผลผลิต 1067 กก./ไร่ มีความหนาแน่นของปากใบต่ำกว่า LD ที่ให้ผลผลิตเพียง 527 กก./ สายพันธุ์ข้าวปิ่นเกษตร+5 เด่นๆ  เหล่านี้น่าจะมีศักภาพในการทนต่อสภาพขาดน้ำได้ดี

 

 

ตารางที่ 2: อายุเก็บเกี่ยว, สีของข้าวกล้อง, ความหนาแน่นของปากใบ (site/mm2), คุณสมบัติแป้ง (AC), อุณหภูมิแป้งสุก (GT), และผลผลิต (kg/ไร่) ของประชากร BC2F4, BC1F5 ปิ่นเกษตร+5 และสายพันธุ์พ่อแม่

ชื่อ

อายุเก็บเกี่ยว

(วัน)

สีของข้าวกล้อง

Stomata

Density

(site/mm2)

คุณสมบัติแป้ง (AC)

อุณหภูมิแป้งสุก (GT)

น้ำหนักผลผลิต

(kg/rai)

PinK+4(117A08)

PinK+4(78A03)

8756 (LD)

ปิ่นเกษตร+5#1F5

ปิ่นเกษตร+5#2H7

ปิ่นเกษตร+5#4E1

ปิ่นเกษตร+5#5E7

ปิ่นเกษตร+5#6E1

ปิ่นเกษตร+5#3A12

ปิ่นเกษตร+5#3H8

ปิ่นเกษตร+5#8G1

120

140

120

135

133

125

120

130

123

120

122

ขาว

ขาว

ดำ

ขาว

ขาว

ขาว

ขาว

ดำ

ขาว

ดำ

ขาว

 

627

609

527

600

638

506

595

Nd

Nd

548

Nd

ข้าวแข็ง

ข้าวแข็ง

ข้าวนุ่ม

ข้าวแข็ง

ข้าวแข็ง

ข้าวแข็ง

ข้าวนุ่ม

ข้าวนุ่ม

ข้าวนุ่ม

ข้าวแข็ง

ข้าวแข็ง

Low

High

Low

High

High

High

High

Low

High

Low

Low

811

1225

365

1067

1163

1036

1029

1105

1056

1021

1068

 

 

 

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes