ผลงานวิจัยและความภาคภูมิใจ

Research Highlight

 

ยีนความหอม 2-AP

  • การค้นพบยีนที่ควบคุมการสร้างสารหอม 2-AP ในข้าวเป็นครั้งแรกในโลก ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในโลกในปี 2550 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อเทคโนโลยีการกดการแสดงออกของยีนส์ Os2AP และการยกระดับสารหอม 2-acetyle-1-pyrroline (Transgenic plants with reduced expression of Os2AP and elevated levels of 2-acetyl-1-pyrroline) และได้รับการรับรองแล้วในอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม อินเดีย ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และ สวิสเซอร์แลนด์ 

 

 

 

 

การพัฒนาพันธุ์ข้าว

  • การพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหารและสุขชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพเพื่อรวม “ยีนส์ต้านทาน+6” กล่าวคือ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ทนร้อน ใช้น้ำน้อยลง ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้คอรวง และ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บนฐานพันธุกรรม ข้าวเหนียว ข้าวหอม ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ และ ข้าวสี ที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพหุงต้ม และ ผลผลิตสูง มีผลงานการค้นพบสายพันธุ์ข้าวต้นแบบจำนวน 30 สายพันธุ์ เช่นข้าวหอมมะลิบวก 4  ข้าวเหนียวธัญพืชสิรินบวก 4  ข้าวหอมปิ่นดัชนี บวก 4  ข้าว Riceberry บวก 4 เป็นต้น ได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวดังกล่าวให้อ่อนโยนปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำเพิ่มขึ้นใช้น้ำน้อยลงเพื่อการให้ผลผลิต

 

 

ข้าวโภชนาการ

  • ผลงานข้าวที่โดดเด่นของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมีดังนี้ ข้าวไรซ์เบอรี่นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีนักวิจัยศึกษามากที่สุดในเชิงโภชนาบำบัด ข้าวไรซ์เบอรี่เป็นข้าวกล้องเจ้าสายพันธุ์แรกที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่ามีรสสัมผัสของข้าวกล้องที่ดีที่สุดมีกลิ่นหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมีคุณสมบัติเชิงโภชนบําบัดเป็นที่ประจักษ์สามารถนำมาแปรรูปได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจุบันมีผู้นิยมนำเอาข้าว Riceberry มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆมากที่สุดในประเทศไทย ข้าวสินเหล็กนับเป็นข้าวกล้องขาวสายพันธุ์แรกที่มีการศึกษาวิจัยเรื่องปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสีสูง แต่มีค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวกล้องต่ำมีกลิ่นหอมมีความนุ่มน่ารับประทาน ข้าวปิ่นเกษตร +4 นับเป็นข้าวหอมขัดขาวที่มีดัชนีน้ำตาลตำเพียงไม่กี่สายพันธุ์ในโลก ข้าวปิ่นเกษตร +4 ยังมีผลผลิตสูงและใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก 

 


ภาพข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Riceberry)

 

 

 

ข้าวพันธุ์ใหม่สร้างสีสัน

  • ข้าวสรรพสีเป็นข้าวพันธุ์เดียวในโลกที่มีใบข้าวหลากสีสร้างความสวยงามให้กับผู้พบเห็นข้าวสรรพสีมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ที่มีสีเฉพาะตัวปลูกสลับกันเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สามารถสร้างปรากฏการณ์พื้นนาที่เต็มไปด้วยสีสันสามารถพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีเพียงแห่งเดียวในโลก นอกจากนั้นใบข้าวสรรพสียังทรงคุณค่าทางโภชนาการทั้งสารต้านอนุมูลอิสระอาหารและอุดมไปด้วยธาตุอาหารรองที่สำคัญเช่นธาตุเหล็ก หากเราสามารถพัฒนาใบข้าวสรรพสีไปเป็นอาหารหรือวัสดุเสริมอาหาร ก็จะช่วยทำให้มนุษย์มีอาหารพอเพียงและไม่ก่อให้เกิดโรคอ้วนและสภาพเสื่อมถอยทางการเผาผลาญอาหาร (metabolic syndrome)

  

ภาพแปลงนาข้าวสรรพสี (Rainbow rice)

 

 

 

 

การขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้า

  • ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวได้ขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อคุ้มครองอัตลักษณ์ของสินค้าที่ทรงคุณค่าจากข้าวธัญโอสถที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เช่น ไรซ์เบอร์รี สินเหล็ก และ ดัชนีน้ำตาลต่ำ

 

 

 

 ภาพเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน  (Registered trademark)

 

 

 

 

 

 

RESEARCH HIGHLIGHT

 

  • Discovering for the first time a gene responsible for biosynthesis of 2-acetyl-1-pyrroline (2AP), the potent aromatic compound in Thai Jasmine and all aromatic rice found globally. The biotechnology to enhance 2AP accumulation in any non-aromatic rice varieties was described in the patent “Transgenic plants with reduced expression of Os2AP and elevated levels of 2AP was filed for patent for the first time in USA and was granted in 2007. Later on, the patents were filed for patenting in 10 other countries such as Australia, Japan, China, Vietnam, France, U.K. the Netherlands, Germany, and Switzerland.  

 

  • Development of new rice varieties for sustainable cultivation and consumer well-being. RSC has focused on developing breeding technology platforms to precisely and efficiently integrate “Plus 6 genes” comprising tolerance to flash flooding and heat, water-used efficiency, resistance to bacterial leaf blight, leaf and neck blast, and brown planthopper. Several elite waxy, aromatic, low glycemic index (low GI), and pigmented rice varieties have been improved for the Plus 6 genes technology. RSC has registered 30 rice varieties including Hommali Rice+4, Thunya Sirin+4, PGI+4, and Riceberry+4.

 

  • There are various well-known rice cultivars from RSC. Riceberry is the most popular and well-studied pigmented rice for therapeutic properties. Cooked Riceberry after taste is well-accepted by health-conscious consumers around the world. Riceberry has also been popular among food industries for its high nutritional values and food properties. Sinlek (brown rice) and Pink+4 (PGI+4) (white rice) are among a few well-studied low GI rice in the world.

 

  • Rainbow rice is a unique rice variety expressing arrays of colorful leaves which creates great impression for observers. There are five varieties of Rainbow rice showing five streaking patterns of colorful green, white, purple, reddish pink leaves. When grown in patterns on a rice field, Rainbow rice creates unique phenomenon for one-of-a-kind agro-tourism in the world, Actually, the leaf of the Rainbow rice is naturally enriched with dietary fiber, antioxidants, micronutrients, and protein. If we can develop Rainbow rice leaves into food supplements and food ingredients, it can help reducing starvation and the risk of non-communicable diseases and metabolic syndrome.

 

  • RSC also registered several trademarks at national and international levels for distinction of quality products from organically-grown medical rice varieties including Riceberry, Sinlek, and LOGI.

 

 

 

 

บทความล่าสุด

ข่าวสารอัพเดด

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes