ข้าวหอมมาลัยแมน

Hom Malaiman Rice

ข้าวเจ้าหอมนุ่มพันธุ์ใหม่ "หอมมาลัยแมน"

เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวหอมนุ่มศูนย์ความเป็นเลิศด้านการปรัปปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหาร, คุณภาพและโภชนาการ อันเป็นหน่วยงานร่วมของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวหอมนุ่มให้มีความต้านทานโรค-แมลงและทนน้ำท่วมฉับพลัน ให้มีผลผลิตสูง ในสภาพการปลูกแบบเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency cultivation) และสภาพปลูกแบบผลผลิตยั่งยืน(Sustainable cultivation) จนทำให้เกิดสายพันธุ์ข้าวหอมอายุสั้น ผลผลิตสูงใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด

  

 

ลักษณะประจำพันธุ์และการกำเนิดข้าวหอมมาลัยแมน

  • เกิดจากการกลายพันธุ์ของข้าวเจ้าหอมนิล โดยการอาบรังสี Fast neutron
  • พบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งยีนความหอม ยีนควบคุมสี และอื่น ๆ ทำให้เกิดข้าวหอมหลายสายพันธุ์
  • ข้าวหอมมาลัยแมนอายุเก็บเกี่ยวสั้น เมื่อปักดำมีอายุ 110-115 วัน นาหว่าน 95 วัน
  • ข้าวสารมีเมล็ดยาวพิเศษตั้งแต่ 7.5-7.9 mm 
  • มี amylose content = 15-16 % เมล็ดใสขาว คุณภาพหุงต้ม มีความนุ่มนวล
  • กลิ่นหอมแรงแม้ปลูกในภาคกลาง
  • มีความต้านทานโรคและแมลง ปานกลาง
  • ปลูกง่ายไม่กินปุ๋ย เมื่อใส่ปุ๋ยแบบพอเพียง ให้ผลผลิตที่ดีในระบบเกษตรอินทรีย์, เกษตรพอเพียง และเกษตรยั่งยืน
  • ในระบบเกษตรอินทรีย์ ข้าวหอมมาลัยแมน ให้ผลผลิตตั้งแต่ 500 - 600 กก/ไร่ ข้าวแห้ง 14 % สูงกว่า ข้าวอายุสั้นหอมเวียดนาม ST24 มีผลผลิต 250-300 กก/ไร่
  • ข้าวหอมมาลัยแมนมีเมล็ดยาวกว่า ST24 แต่มีความเรียวน้อยกว่า ST24 เล็กน้อย
  • ข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี 

 

 

การเกษตรแม่นยำเพื่อยกระดับกลิ่นหอม

ปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าข้าวหอมมีกลิ่มหอมน้อยลงการพัฒนาข้าวหอมพันธุ์ใหม่ที่สามารถผลิตสารหอมได้มากขึ้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ข้าวหอมหอมมากยิ่งขึ้น คือ วิธีการกระตุ้นกระบวนการสร้างสารหอมให้สูงขึ้นโดยการกำหนดฤดูปลูก การใช้ปุ๋ย ธาตุอาหาร น้ำ และสารกระตุ้นกลิ่นหอม อากาศที่เย็น การขาดน้ำ และความเค็ม ในระยะสร้างเมล็ดจะทำให้ข้าวมีความหอมมากยิ่งขึ้น แต่ทำให้ผลผลิตลดลง การใช้ปุ๋ยเคมีที่มุ่งเน้นผลผลิตสูงสุดในทางตรงกันข้ามจะไปลดการสะสมสารหอมในเมล็ดข้าวศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวร่วมกับสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ได้พัฒนาวิธีการปลูกข้าวหอมให้หอมยิ่งขึ้นที่เรียกว่าเทคนิคกระตุ้นกลิ่นหอม เทคนิคดังกล่าวสามารถเพิ่มการสะสมสารหอมได้มากกว่า 30% ในข้าวหอมมะลิ ขณะเดียวกันยังเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวให้สูงขึ้นด้วย โดยเพิ่มต้นทุนเพียงเล็กน้อย ทำให้ผลผลิตข้าวหอมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีราคาสูงขึ้นได้

 

  

 

 

 

บทความล่าสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes