ข้าวปิ่นเกษตร +6

ข้าวเจ้า “พันธุ์ปิ่นเกษตร+6 ได้จากการผสมกลับแบบสั้น (pseudo Backcrossing) โดยใช้ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร4 เป็นสายพันธุ์รับ (สายพันธุ์แม่) และข้าวสายพันธุ์ให้ (สายพันธุ์พ่อ) จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์กลายทนร้อน (Mu9962) และ ข้าวพันธุ์กลายทนธาตุเหล็กเป็นพิษ (MuFRO)  ทำการผสมข้ามพันธุ์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “เทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช. เมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยได้ลูกผสมรุ่น F1 จำนวน 2 คู่ผสม คือ ปิ่นเกษตร+4/ Mu9962 และปิ่นเกษตร+4/MuFRO ในปี 2558       หลังจากนั้นได้ปลูกต้น F1 และคัดเลือกต้น F1 ที่แท้จริง (ผสมข้ามสำเร็จ) ด้วยโมเลกุลเครื่องหมายของยีนควบคุมลักษณะเป้าหมายอย่างน้อย 1 เครื่องหมาย ทำการผสมกลับต้น F1 เข้าหาข้าวปิ่นเกษตร+4 ซึ่งเป็นพันธุ์รับ (recurrent parent) ได้ BC1F1 จำนวน 2 คู่ผสม คัดเลือก BC1F1 จากแต่ละคู่ผสมที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมาย ยีนต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน อมิโลส  อุณหภูมิแป้งสุก กลิ่นหอม ของทั้ง 2 คู่ผสม และคัดเลือกยีนที่เกี่ยวข้องกับความทนร้อนของข้าว (สำหรับคู่ผสมปิ่นเกษตร+4/ Mu9962) หรือความทนธาตุเหล็กเป็นพิษ (สำหรับคู่ผสมปิ่นเกษตร+4/MuFRO) โดยใช้ MAS  ในปี 2559  หลังจากนั้นทำการผสมกลับโดยวิธี pseudo Backcrossing โดยผสมข้ามระหว่าง BC1F1 ที่ผ่านการคัดเลือกว่ามียีนเป้าหมายครบแล้ว จาก 2 คู่ผสม ได้เป็นประชากรรุ่น  pseudo BC2F1  และคัดเลือก pseudo BC2F1 ที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมายโดยใช้ MAS  ในปี 2559 จากนั้นปล่อยให้ pseudo BC2F1 ผสมตัวเองได้ pseudo BC2F2 ปลูกและคัดเลือกต้นที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมายโดยใช้ MAS  และปล่อยให้ผสมตัวเองได้ pseudo BC2Fในปี 2560   ในปี 2561 ปล่อยให้ pseudo BC2Fผสมตัวเองได้ pseudo BC2F จากนั้นปลูกประเมินประสิทธิภาพของการคัดเลือกด้วย MAS โดยทำการทดสอบความต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นได้ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ ในปี 2561 ต่อมาในปี 2562 ได้มีการนำสายพันธุ์ข้าวไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร จ.นครราชสีมา และ จ.เชียงใหม่  ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2563- 2564 ได้ทำการรวบรวมพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพผลผลิตที่ดี ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) มาปลูกทดสอบผลผลิตอีกครั้ง ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

 

ข้าวสายพันธุ์ปิ่นเกษตร+6 จำนวน 9 สายพันธุ์ ที่เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่คัดเลือกได้   เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม ผลผลิตสูง มีทั้งสายพันธุ์ที่เมล็ดข้าวกล้องสีขาว และเมล็ดข้าวกล้องสีม่วง มีความต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน ทนร้อนและทนธาตุเหล็กเป็นพิษ

 

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes