ข้าวเรดเบอร์รี่ Redberry
Redberry (M.2 9689) อยู่ในกลุ่มข้าวเฉดสี เป็นข้าวต้นเตี้ยที่ให้ผลผลิตสูง มีต้นกำเนิดจากการกลายพันธุ์ของข้าวเจ้าหอมนิล ที่สีของเมล็ดเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีแดงอิฐ เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี เมล็ดข้าวหุงสุก มีสีแดงอิฐ
Redberry (M.2 9689) อยู่ในกลุ่มข้าวเฉดสี เป็นข้าวต้นเตี้ยที่ให้ผลผลิตสูง มีต้นกำเนิดจากการกลายพันธุ์ของข้าวเจ้าหอมนิล ที่สีของเมล็ดเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีแดงอิฐ เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี เมล็ดข้าวหุงสุก มีสีแดงอิฐ
ข้าวเจ้า “พันธุ์ปิ่นเกษตร+6 ได้จากการผสมกลับแบบสั้น (pseudo Backcrossing) โดยใช้ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร4 เป็นสายพันธุ์รับ (สายพันธุ์แม่) และข้าวสายพันธุ์ให้ (สายพันธุ์พ่อ) จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์กลายทนร้อน (Mu9962) และ ข้าวพันธุ์กลายทนธาตุเหล็กเป็นพิษ (MuFRO) ทำการผสมข้ามพันธุ์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “เทคโนโลยีก่อกลายพันธุ์ทั้งจีโนมเพื่อเพิ่มศักยภาพการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช. เมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยได้ลูกผสมรุ่น F1 จำนวน 2 คู่ผสม คือ ปิ่นเกษตร+4/ Mu9962 และปิ่นเกษตร+4/MuFRO ในปี 2558 หลังจากนั้นได้ปลูกต้น F1 และคัดเลือกต้น F1 ที่แท้จริง (ผสมข้ามสำเร็จ) ด้วยโมเลกุลเครื่องหมายของยีนควบคุมลักษณะเป้าหมายอย่างน้อย 1 เครื่องหมาย ทำการผสมกลับต้น F1 เข้าหาข้าวปิ่นเกษตร+4 ซึ่งเป็นพันธุ์รับ (recurrent parent) ได้ BC1F1 จำนวน 2 คู่ผสม คัดเลือก BC1F1 จากแต่ละคู่ผสมที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมาย ยีนต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน อมิโลส อุณหภูมิแป้งสุก กลิ่นหอม ของทั้ง 2 คู่ผสม และคัดเลือกยีนที่เกี่ยวข้องกับความทนร้อนของข้าว (สำหรับคู่ผสมปิ่นเกษตร+4/ Mu9962) หรือความทนธาตุเหล็กเป็นพิษ (สำหรับคู่ผสมปิ่นเกษตร+4/MuFRO) โดยใช้ MAS ในปี 2559 หลังจากนั้นทำการผสมกลับโดยวิธี pseudo Backcrossing โดยผสมข้ามระหว่าง BC1F1 ที่ผ่านการคัดเลือกว่ามียีนเป้าหมายครบแล้ว จาก 2 คู่ผสม ได้เป็นประชากรรุ่น pseudo BC2F1 และคัดเลือก pseudo BC2F1 ที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมายโดยใช้ MAS ในปี 2559 จากนั้นปล่อยให้ pseudo BC2F1 ผสมตัวเองได้ pseudo BC2F2 ปลูกและคัดเลือกต้นที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมายโดยใช้ MAS และปล่อยให้ผสมตัวเองได้ pseudo BC2F3 ในปี 2560 ในปี 2561 ปล่อยให้ pseudo BC2F3 ผสมตัวเองได้ pseudo BC2F4 จากนั้นปลูกประเมินประสิทธิภาพของการคัดเลือกด้วย MAS โดยทำการทดสอบความต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน จากนั้นได้ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ ในปี 2561 ต่อมาในปี 2562 ได้มีการนำสายพันธุ์ข้าวไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร จ.นครราชสีมา และ จ.เชียงใหม่ ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2563- 2564 ได้ทำการรวบรวมพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพผลผลิตที่ดี ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) มาปลูกทดสอบผลผลิตอีกครั้ง ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ข้าวสายพันธุ์ปิ่นเกษตร+6 จำนวน 9 สายพันธุ์ ที่เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่คัดเลือกได้ เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม ผลผลิตสูง มีทั้งสายพันธุ์ที่เมล็ดข้าวกล้องสีขาว และเมล็ดข้าวกล้องสีม่วง มีความต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน ทนร้อนและทนธาตุเหล็กเป็นพิษ
การสร้างประชากรข้าวพันธุ์กลายโดยการเหนี่ยวนำเมล็ดข้าวเจ้าหอมนิลให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยรังสี Fast Neutron ปัจจุบันมีเมล็ดพันธุ์ในรุ่น M5 ทั้งประชากร จำนวน 21,024 สายพันธุ์ สำหรับการคัดกรองสายพันธุ์กลาย ทั้งโดยวิธี Forward และ Reverse genetic มีสายพันธุ์กลายที่พิสูจน์ทราบแล้ว (identified mutants) ว่ามีการเปลี่ยนแปลง แตกต่างจากข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์เดิมอย่างน้อย 1 ลักษณะขึ้นไป รวบรวมไว้ได้ทั้งสิ้น 299 สายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์กลายสำคัญที่ถูกนำมาใช้เป็น Donor parents ที่หายากยิ่ง ในการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์กลายทนร้อน, ทนธาตุเหล็กเป็นพิษ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ทนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นต้น
สำหรับข้าวพันธุ์กลาย ที่มีลักษณะการให้ผลผลิตที่ดี มีคุณสมบัติแป้ง คุณภาพหุงต้ม และกลิ่นหอมเปลี่ยนแปลงไป ได้ถูกนำคัดเลือกมาปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ในระบบเกษตรอินทรีย์ จนสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นได้ดังนี้
ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลาย M11183
ข้าวเจ้าพื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง เมล็ดสีขาว เมล็ดเรียวยาว อายุเก็บเกี่ยว 125 วัน ผลผลิต 830-900 กก./ไร่
ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลาย M9997
ข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง เมล็ดสีขาว อมิโลสปานกลาง และมีกลิ่นหอม อายุเก็บเกี่ยว 121 วัน ผลผลิต 720 กก./ไร่
ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลาย M00005
ข้าวเจ้าพื้นแข็ง ไม่ไวต่อช่วงแสง เมล็ดสีขาว อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ผลผลิต 920 กก./ไร่
ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลาย M2313
ข้าวเหนียวดำ ไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม อายุเก็บเกี่ยว 127 วัน ผลผลิต 780 กก./ไร่
ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลาย M9689
ข้าวเหนียวดำ ไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม อายุเก็บเกี่ยว 129 วัน ผลผลิต 860 กก./ไร่
ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว
เป็นหนึ่งในสายพันธุ์กลาย ที่พบการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา โดยพบว่าข้าวพันธุ์นี้มีลักษณะใบด่าง เป็นแถบขาว เป็นทางยาว สลับกับสีเขียว จึงได้แยกสายพันธุ์กลายดังกล่าว ออกมาปลูกขยายพันธุ์ต่อ และตั้งชื่อตามลักษณะที่พบว่า “ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว” ต่อมาได้ใช้ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาวเป็นพันธุ์พ่อ สำหรับ เข้าคู่ผสมกับ ข้าวพันธุ์ก่ำหอมนิล (พันธุ์แม่) จนได้ข้าวสรรพสีทั้ง 5 สายพันธุ์
[ลงทะเบียนต้องการปลูกข้าวหอมสยาม]
ข้าวเจ้าพันธุ์ “หอมสยาม” เป็นข้าวเจ้าหอมนุ่ม ไวต่อช่วงแสง ที่มีความสูงปานกลาง ให้ผลิตสูง มีคุณภาพการหุงต้มดีเหมือนขาวดอมะลิ 105 ต้านทานต่อโรคไหม้และสภาวะแล้งด้วยลักษณะทางกายวิภาคของรากที่แตกต่างจากขาวดอกมะลิ 105 ได้จากการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก ระหว่างข้าวสายพันธุ์แม่ “RGD03068-2-9-1-B (RGD03068)” ที่มีลักษณะทนแล้ง กับข้าวสายพันธุ์พ่อ “แก้วเกษตร” ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานต่อโรคไหม้ ทรงกอตั้ง ต้นเตี้ย ในปี 2553 ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สวทช.
ลักษณะพิเศษ
ข้าวหอม นุ่ม ไวต่อช่วงแสง เมล็ดมีกลิ่นหอม นุ่มอร่อยคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ105 มีลำต้นที่แข็งแรง ไม่หักล้มง่าย
ความสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ และทนแล้ง
ลักษณะประจำพันธุ์ |
ข้าวขาวดอกมะลิ 105 |
ข้าวเจ้าหอมสยาม |
ความไวต่อช่วงแสง |
ไวต่อช่วงแสง |
ไวต่อช่วงแสง |
ความสูง |
150 เซนติเมตร |
120 เซนติเมตร |
ทรงกอ |
กอแบะ ประมาณ 45 องศา |
กอตั้ง |
ความแข็งของลำต้น |
อ่อน ง่ายต่อการหักล้ม |
แข็ง ไม่หักล้ม |
จำนวนกอ |
ประมาณ 11 กอ |
ประมาณ 15 กอ |
ความยาวรวง |
28 เซนติเมตร |
28 เซนติเมตร |
จำนวนรวงต่อกอ |
10 รวง |
13 รวง |
จำนวนเมล็ดต่อรวง |
140 เมล็ด |
220 เมล็ด |
ลักษณะเมล็ด |
เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนสั้น |
เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนสั้น |
ความยาวข้าวเปลือก |
10.60 มิลลิเมตร |
10.56 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวกล้อง |
7.50 มิลลิเมตร |
7.35 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวสาร |
7.20 มิลลิเมตร |
7.21 มิลลิเมตร |
ปริมาณอมิโลส |
16.7 เปอร์เซ็นต์ |
17.5 เปอร์เซ็นต์ |
ค่าการสลายตัวในด่าง |
6 (ต่ำ) |
7 (ต่ำ) |
ค่าความคงตัวแป้งสุก |
66.5 มิลลิเมตร |
71.3 มิลลิเมตร |
ความนุ่ม |
นุ่ม |
นุ่ม |
ความหอม |
1.44 ppm |
1.19 ppm |
ผลผลิตเฉลี่ย |
250 กิโลกรัมต่อไร่ |
530 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเมล็ด |
ขาวดอกมะลิ 105 |
หอมสยาม |
ความยาวข้าวเปลือก |
10.60 มิลลิเมตร |
10.56 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวกล้อง |
7.50 มิลลิเมตร |
7.35 มิลลิเมตร |
ความยาวข้าวสาร |
7.20 มิลลิเมตร |
7.21 มิลลิเมตร |
ปริมาณอมิโลส |
16.7 เปอร์เซ็นต์ |
17.5 เปอร์เซ็นต์ |
ค่าการสลายตัวในด่าง |
6 (ต่ำ) |
7 (ต่ำ) |
ค่าความคงตัวแป้งสุก |
66.5 มิลลิเมตร |
71.3 มิลลิเมตร |
ผลผลิต
ข้าวหอมสยาม มีผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มากกว่า 50% เนื่องจากมีจำนวนองค์ประกอบผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ จำนวนหน่อต่อกอ เพิ่มมากขึ้นจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 คิดเป็น 27% และจำนวนเมล็ดต่อรวง เพิ่มมากขึ้นจากข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 คิดเป็น 36% ขณะที่ข้าวหอมสยามมีความสูงลดลง ประมาณ 20% ลำต้นแข็ง ไม่หักล้ม ในขณะที่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หักล้ม จะทำให้ผลผลิตเสียหายไป 50%
(Yield of Hom Siam increased more than 50% compared with KDML105 due to the 36% increase in number of seed per panicle and 27% increase in tiller number. Hom Siam is also resistant to lodging due to strong stem and decrease in height by 20% compared with KDML105.)
ระบบราก
ในสภาพปกติมีน้ำขัง ข้าวหอมสยาม มีจำนวนรากมากกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 50% และในสภาพแล้ง ข้าวหอมสยาม มีจำนวนรากมากกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 20% และยังมีระบบรากลึกซึ่งช่วยในการดูดน้ำและธาตุอาหารเพื่อรักษาการเจริญเติบโตและผลผลิต
(Under well-watered condition, Hom Siam has total root number 50% more than KDML105. Under drought stress, Hom Siam has a total root number of 20% than KDML105 and maintain more deep roots and that help in maintaining water status in the rice plant and contributes to the increase of biomass under stress)
สภาพปกติมีน้ำขัง | สภาพแล้ง |
ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ความต้านทานโรค
ข้าวหอมสยาม มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง
ลงทะเบียน
ประสงค์ปลูกข้าวหอมสยามของเกษตรกร ในฤดูปลูก 2565
[ลงทะเบียนคลิก]
ข้าวเจ้า “พันธุ์ปิ่นเกษตร+5 มาจากการผสมกลับระหว่างข้าวปิ่นเกษตร+4 และข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายจำนวน 2 คู่ผสม คู่ผสมที่ 1 ใช้ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร4#78A03 เป็นสายพันธุ์รับ (สายพันธุ์แม่) และข้าวสายพันธุ์ให้ (สายพันธุ์พ่อ) คือ ข้าวพันธุ์กลายที่มีความหนาแน่นปากใบต่ำ (Mu8756) คู่ผสมที่ 2 ใช้ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร4#117A08 เป็นสายพันธุ์รับ (สายพันธุ์แม่) และข้าวสายพันธุ์ให้ (สายพันธุ์พ่อ) คือ ข้าวพันธุ์กลายที่มีขนาดปากใบเล็ก (Mu3117) ทำการผสมข้ามพันธุ์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “Climate ready rice: Optimising transpiration to protect rice yields under abiotic stresses” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช และ BBSRC-Newton Fund Partnerships เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยได้ลูกผสมรุ่น F1 จากทั้ง 2 คู่ผสม ในปี 2561 คัดเลือกต้น F1 ที่แท้จริง (ผสมข้ามสำเร็จ) ทำการผสมกลับต้น F1 เข้าหาข้าวปิ่นเกษตร+4 ซึ่งเป็นพันธุ์รับ (recurrent parent) ได้ BC1F1 คัดเลือก BC1F1 จากแต่ละคู่ผสมที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมาย ได้แก่ ยีนต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน อมิโลส อุณหภูมิแป้งสุก กลิ่นหอม และยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะปากใบของข้าว โดยใช้ MAS ในปี 2561 หลังจากนั้นทำการผสมกลับ BC1F1 ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว เข้าหาปิ่นเกษตร4 อีกครั้งหนึ่ง ได้ BC2F1 คัดเลือก BC2F1 ที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมาย ในปี 2562 จากนั้นปล่อยให้ BC2F1 ผสมตัวเองได้ BC2F2 ปลูกและคัดเลือกต้นที่ได้รับการถ่ายทอดยีนเป้าหมายในปี 2562 และปล่อยให้ผสมตัวเองอีกครั้งหนึ่งได้ BC2F3
ในระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ได้ปล่อยให้ต้น BC1F1 บางส่วนผสมตัวเอง ได้ BC1F2 โดยคัดเลือกและปล่อยผสมตัวเองจนถึงรุ่น BC1F4 จากนั้นได้คัดเลือกทั้งประชากร BC2F3 และ BC1F4 จากทั้ง 2 คู่ผสม มาทำการประเมินประสิทธิภาพของการคัดเลือกด้วย MAS โดยทำการทดสอบความต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และความทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน ความหนาแน่นของปากใบ จากนั้นได้ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ภายใน ม.เกษตรศาสตร์ ในปี 2563 รวมทั้งได้มีการนำสายพันธุ์ข้าวไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร
ข้าวสายพันธุ์ปิ่นเกษตร+5 ที่เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่คัดเลือกได้ จำนวน 12 สายพันธุ์ เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทนน้ำท่วมฉับพลัน มีทั้งสายพันธุ์ที่เมล็ดข้าวกล้องสีขาว และสีน้ำตาล และมีอมิโลส อุณหภูมิแป้งสุก แตกต่างกันขึ้นกับสายพันธุ์
สายพันธุ์คงตัว ปิ่นเกษตร+5 มี สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่า 1ตัน/ไร่ โดยทุกพันธุ์เป็นข้าวหอมที่ต้านทาน FBBB มีความเชื่อกันโดยทั่วไปว่าความหนาแน่นของปากใบสูงสัมพันธ์กับการให้ผลผลิตสูง แต่จากการปรับปรุงพันธุ์ครั้งนี้ พบว่ามีพันธุ์ปรับปรุงที่มีความหนาแน่นของปากใบต่ำ ที่ให้ผลผลิตสูงและอายุเก็บเกี่ยวใกล้เคียงสายพันธุ์ให้ลักษณะปากใบต่ำ เช่นพันธุ์ ปิ่นเกษตร+5# 4E1 ให้ผลผลิต 1067 กก./ไร่ มีความหนาแน่นของปากใบต่ำกว่า LD ที่ให้ผลผลิตเพียง 527 กก./ สายพันธุ์ข้าวปิ่นเกษตร+5 เด่นๆ เหล่านี้น่าจะมีศักภาพในการทนต่อสภาพขาดน้ำได้ดี
ตารางที่ 2: อายุเก็บเกี่ยว, สีของข้าวกล้อง, ความหนาแน่นของปากใบ (site/mm2), คุณสมบัติแป้ง (AC), อุณหภูมิแป้งสุก (GT), และผลผลิต (kg/ไร่) ของประชากร BC2F4, BC1F5 ปิ่นเกษตร+5 และสายพันธุ์พ่อแม่
ชื่อ |
อายุเก็บเกี่ยว (วัน) |
สีของข้าวกล้อง |
Stomata Density (site/mm2) |
คุณสมบัติแป้ง (AC) |
อุณหภูมิแป้งสุก (GT) |
น้ำหนักผลผลิต (kg/rai) |
PinK+4(117A08) PinK+4(78A03) 8756 (LD) ปิ่นเกษตร+5#1F5 ปิ่นเกษตร+5#2H7 ปิ่นเกษตร+5#4E1 ปิ่นเกษตร+5#5E7 ปิ่นเกษตร+5#6E1 ปิ่นเกษตร+5#3A12 ปิ่นเกษตร+5#3H8 ปิ่นเกษตร+5#8G1 |
120 140 120 135 133 125 120 130 123 120 122 |
ขาว ขาว ดำ ขาว ขาว ขาว ขาว ดำ ขาว ดำ ขาว
|
627 609 527 600 638 506 595 Nd Nd 548 Nd |
ข้าวแข็ง ข้าวแข็ง ข้าวนุ่ม ข้าวแข็ง ข้าวแข็ง ข้าวแข็ง ข้าวนุ่ม ข้าวนุ่ม ข้าวนุ่ม ข้าวแข็ง ข้าวแข็ง |
Low High Low High High High High Low High Low Low |
811 1225 365 1067 1163 1036 1029 1105 1056 1021 1068 |