ดัชนีน้ำตาลหรือ Glycemic index (GI) เป็นดัชนีวัดคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตในอาหาร การหาค่าดัชนีน้ำตาล โดยให้คนกินอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้องการศึกษา 50 กรัม แล้วติดตามว่าเมื่อกินแล้ว คาร์โบไฮเดรตที่ถูกย่อยและดูดซึมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างไรในเวลา 2 ชั่วโมง โดยน้ำตาลกลูโคสมีค่าดัชนีน้ำตาลเท่ากับ 100 เมื่อรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง น้ำตาลในเลือดจะขึ้นสูงและเร็วกว่าอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ
ดัชนีน้ำตาล |
ร้อยละ |
ต่ำ |
55 หรือ น้อยกว่า |
กลาง |
56 ถึง 69 |
สูง |
70 หรือ มากกว่า |
ในยุคที่คนไทยจะก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วในยุค digital ทำให้คนไทยป่วยเป็นเบาหวาน, มะเร็ง, โรคหัวใจ, ความดันโลหิต และโรคไตมากขึ้น ในปี 2015 ประชากรโลกกว่า 1,000 ล้านคนและคนไทยมากกว่า 4 ล้านคนเป็นผู้ป่วยเบาหวาน และมากกว่า 2 ล้านคนที่อยู่ในระยะเริ่มต้น ทำให้ต้องมีภาระค่ารักษาพยาบาลไม่ต่ำกว่า 46,000 ล้านบาทต่อปี สาเหตุที่สำคัญ คือ การบริโภคอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง ซึ่งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต แป้งและน้ำตาล“สูง” แต่มีเยื่อใยและสารต้านอนุมูลอิสระ“ต่ำ” เนื่องจากข้าวเป็นอาหารจานหลักของคนไทย ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์ข้าวและผลิตภัณฑ์ให้มีมีดัชนีน้ำตาลต่ำ จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยป้องกัน และการแก้ไขอุบัติภัยของโรคเบาหวาน ในสังคม Thailand 4.0 และประชากรโลกได้
ข้าวหอมปิ่นเกษตร+4 ดัชนีน้ำตาลต่ำ
‘ปิ่นเกษตร+4’ เปรียบเทียบกับข้าวบัสมาติของอินเดีย ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 24 คน พบว่า GI ของข้าว ‘ปิ่นเกษตร+4’ อยู่ระหว่าง 52-55 ในขณะที่ข้าวบัสมาติมี GI เท่ากับ 74 ส่วนค่ามวลน้ำตาล (GL) ของข้าว ‘ปิ่นเกษตร+4’ ที่ถูกเลือกมาทดสอบอยู่ระหว่าง 9.8-13.7 โดยที่ข้าวบัสมาติมี GL เท่ากับ 13.8 ดังนั้นข้าวปิ่นเกษตร+4 จึงเป็นข้าวไทยพันธุ์ใหม่ที่มี GI และ GI ต่ำ เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาเบาหวานและคนอ้วน นอกจากนี้อาหารจากแป้งข้าวซึ่งมีคุณสมบัติเป็น gluten free diet ยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเป็นอย่างมาก
ข้าวปิ่นเกษตร+4 จะเป็นความหวังของชาวนาในเขตชลประทาน ที่ต้องการพันธุ์ข้าวที่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักสุขภาพ นอกจากนี้หากปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ จะช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชลงได้ งานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ปิ่นเกษตร+4 ยังได้รับ เพื่อต่อยอดความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่จำกัด ได้แก่ อากาศร้อน หนาว ดินเค็ม และธาตุเหล็กเป็นพิษ เพื่อให้ข้าวพันธุ์ใหม่ มีศักยภาพการให้ผลผลิตได้ทุกสภาพการปลูก งานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นต้นแบบการพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อความมั่นคงยั่งยืนทางสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม