บทความ

งานวิจัยและองค์ความรู้

เทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมเอกลักษณ์ของไทย

เทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมเอกลักษณ์ของไทย

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว 
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

การทำเอกลักษณ์ดีเอ็นเอ (DNA Fingerprinting) ก็ไม่อาจป้องกันขโมยได้ การโคลนยีนที่ควบคุมกลิ่นของข้าวพันธุ์นี้จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด
เมื่อมีการจดสิทธิบัตรยีนเอาไว้ด้วยแล้ว ย่อมเป็นการบันทึกเอกลักษณ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด  ความกังวลในอีกประการหนึ่งคือการใช้เทคโนโลยี GMO สร้างข้าวหอมให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งน่าจะเป็นการแข่งขันที่น่ากลัวที่สุด  แต่ปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นเจ้าของยีนและเทคโนโลยีการสร้างกลิ่นหอมในข้าว แต่เพียงผู้เดียวในโลก ย่อมเป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการปกป้องข้าวขาวดอกมะลิของเราไปได้อีกอย่างน้อย 20 ปี ก่อนที่วิทยาการของไทยจะเข้มแข็งกว่านี้

 

การปรับปรุงเทคโนโลยีใหญ่ที่ทำให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรม

  1. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมให้มีลักษณะที่ดีขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวหอมที่มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมได้มากขึ้น ในอีกมุมหนึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวหอมไทยในตลาดโลกต้นทุนการผลิตข้าวหอมก็น่าจะถูกลงซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรและกับการแข่งขันในตลาดโลก

 

  1. การได้รับคำรับรองสิทธิบัตรยีนความหอมและการนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ประเทศไทยสามารถจะควบคุมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมโดยใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม(GMO)ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแข่งขันในตลาดโลก การที่ประเทศไทยสามารถจะควบคุมการพัฒนาข้าวGMOหอมไม่ให้มาแย่งตลาดข้าวหอมมะลิของไทยยิ่งเป็นการเสริมขีดความสามารถของข้าวหอมมะลิไทยให้มีความสามรถในการแข่งขันต่อไปในอนาคต

 

 

หอมมะลิ ๘๐

เริ่มจากปี 2550 เมื่อไบโอเทค/มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรมการข้าว ได้ร่วมกันน้อมเกล้าถวายข้าวขาวดอกมะลิทนน้ำท่วม แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกว่า หอมมะลิ ๘๐ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชันษาครบ 80 พรรษา ด้วยเมล็ดพันธุ์เริ่มต้น 5 ตัน สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ได้ทำการส่งเสริมข้าวหอมมะลิ ๘๐ ไปสู่เกษตรกรได้มากกว่า 1000 ไร่ จนสามารถสร้างผลกระทบได้ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท โดยไม่ได้พึ่งพากลไกการส่งเสริมของรัฐแต่อย่างใด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิที่จะมีความต้านทานมากขึ้น และเป็นการทำให้คนทั่วไปประจักษ์แล้วว่า เราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี ตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) จากต่างประเทศ

 

หอมมะลิ ๘๔

ความสำเร็จที่ท้าทายยิ่งกว่าหอมมะลิ ๘๐ คือการรวบยอดยีนต้านทานโรคขอบใบแห้งตำแหน่งที่ 21 และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตำแหน่งที่ 4 และ 10 เข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นความพยายามที่ใช้เวลายาวนาน บนเงื่อนไขของเทคโนโลยีที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ในที่สุด ข้าวหอมมะลิ ๘๔ ก็จะปรากฎสู่สายตาของเกษตรกร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับ การระบาดของเพลี้ยกระโดดและขอบใบแห้งในเวลานี้  ข้าวหอมมะลิ ๘๔ ก็ยังคงความเป็น ข้าวหอมมะลิไทยอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ

 

กอบกู้ข้าวเหนียวกข 6 จาก โรคไหม้

ทุกปีข้าวเหนียวกข 6 ได้ถูกทำลายโดยโรคไหม้คอรวงจนในบางปีผลผลิตของข้าวเหนียวนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากความพยายามในการถ่ายทอดยีนต้านทานโรคไหม้ที่ถูกค้นพบโดยหน่วยปฏิบัติการฯ (Sirithunya  et al 2002.) เข้าสู่ข้าวเหนียว กข6 จนมาสำเร็จในปี พ.ศ. 2551 และได้ถ่ายทอดสู่เกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จ. สกลนคร, น่าน, นครพนม และ ชัยภูมิ รวมทั้งภาคเหนือคือ ลำปาง และเชียงราย รวมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1000 ไร่ และได้สร้างผลกระทบประมาณ 10 ล้านบาท ในเวลา 2 ปี ด้วยคุณภาพข้าวเหนียวที่ถูกใจคนไทยและความทนทานโรคไหม้ เชื่อแน่ว่าข้าวเหนียวหอมมะลินี้จะได้รับการยอมรับจากเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

หอมชลสิทธิ์

ข้าวหอมชลสิทธิ์ถูกพัฒนาเพื่อผืนนาชลประทานที่มีปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน  ในสภาพปรกติ ข้าวหอมชลสิทธิ์ เป็นข้าวผลผลิตสูง มีกลิ่นหอม เมล็ดยาว นิ่มนวล แต่มีความแตกต่างจากขาวดอกมะลิ อย่างชัดเจนที่อุณหภูมิแป้งสุก หอมชลสิทธ์ สามารถทนอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 2 - 3 สัปดาห์แล้วฟื้นตัวได้หลังน้ำลด ซึ่งโดยปกติพันธุ์ข้าวทั่วไปจมน้ำตายภายใน 1 สัปดาห์ ความทนทานนี้เป็นระดับความทนทานที่อายุของต้นข้าวประมาณ 21 วันหรือระยะต้นกล้า แต่ถ้าต้นข้าวมีอายุมากกว่าระดับความทนทานก็จะมากขึ้นไปด้วย สายพันธุ์นี้ได้ทำการเผยแพร่และส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงต่อสภาวะน้ำท่วมฉับพลันคือจังหวัดพิจิตร, อุตรดิตถ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, อยุธยา ผ่านกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นขณะนี้(ปี2551)มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมชลสิทธ์อยู่กว่า1,500 ไร่

 

 

 

ผลลัพธ์งานวิจัยที่แท้จริง

บทบาทที่สำคัญที่สุดของหน่วยปฏิบัติการ คือการสร้างขีดความสามารถด้านบุคลากรวิจัยของประเทศ  กลยุทธ์ในการสร้างบุคลากรของหน่วยปฏิบัติการฯ คือการฝึกให้นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ได้เข้ามามีบทบาทในการร่วมวิจัยกับอาจารย์   ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการได้ผลิตบัณฑิตปริญญาโทไปแล้ว 20 คน และปริญญาเอก 11 คน รวมทั้งนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้าน 2 คน (ปริญญาโท) นักศึกษาที่จบจากหน่วยปฏิบัติการมีบทบาทสำคัญในหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้าไม่ใช่เพราะความพยายาม ทุ่มเท และอดทนไม่ย้อท้อต่ออุปสรรค ของบุคลากรในหน่วยปฏิบัติการฯ แล้วก็ไม่สามารถก้าวกระโดดจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบเดิมไปสู่ยุคจีโนมิคส์ ที่โดดเด่นของประเทศได้

 

บทความล่าสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes