ข้าวพันธุ์พิเศษ (specialty rice)
ข้าวได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำไปใช้เฉพาะทางหรือในเขตเพาะปลูกที่มีปัญหาเฉพาะถิ่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของพันธุ์ข้าวกับโอกาสของชาวนาไทย จึงได้ร่วมวิจัยจนเกิดเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพิเศษสู่มือเกษตรกรอย่างรวดเร็วที่สุด อันประกอบไปด้วยข้าวนานาสายพันธุ์ ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว
โดยมีผลงานหลัก คือ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่รวมความต้านทานโรค, แมลง และสิ่งแวดล้อมที่มาจำกัดผลผลิตของข้าวหอมให้ลดต่ำลงกับโภชนาการสูงที่มีธาตุเหล็ก สังกะสี สารต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งต้านเบาหวาน ข้าวเหล่านี้เป็นที่สนใจในหมู่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นข้าวเหล่านี้อาจกลายเป็นสินค้าส่งออกที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งในฐานะที่หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวและศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มีพันธุ์ข้าวใหม่ที่น่าสนใจจำนวนมาก ดังนั้นจึงขอเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวพิเศษนานาพันธุ์เหล่านี้ และส่งเสริมการปลูกบนแปลงเกษตรกรให้สอดคล้องกับตลาดผู้บริโภคต่อไป
ข้าวเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้เผชิญกับอุบัติการณ์โรคไม่ติดต่อ (Non-infectious) โดยประชากรกว่า พันล้านแสดงอาการโลหิตจาง กว่า 1 พันล้านคนมีปัญหาโรคอ้วน อีกกว่า 200 ล้านคนเป็นผู้ป่วยเบาหวาน และในปี 2025 คาดว่าจะมีประชากรกว่า 1.5 พันล้านคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 17 ล้านคนต่อปี ปัญหาสุขภาพเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุใหญ่ คือการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลย์ ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของโลกอาจเป็นสาเหตุของความบกพร่องเหล่านี้ โดยเฉลี่ยคนเราบริโภคข้าวประมาณวันละ 200-250 กรัมข้าวสาร ดังนั้นการปรับปรุงโภชนาการข้าวไทยอาจช่วยลดอุบัติการณ์และเป็นการวาง ตำแหน่งข้าวไทยสู่ตลาดอาหารเชิงบำบัด (functional food) ในอนาคต เพื่อชะลออุบัติภัยจากโรคไม่ติดต่อในมวลมนุษย์ ได้