งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

 ผลงานจากทีมวิจัย RSC KU BIOTEC NSTDA

 

รำข้าวเป็นแล่งของน้ำมันที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ  เช่น วิตามินอี, โทโคฟีรอล และ แกมมา ออไรซานอล

ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นซึ่งแตกต่างจากน้ำมันพืชอื่นๆ คือ การมีส่วนประกอบเป็นสาร สำคัญคือ แกมมา ออไรซานอล และโทโคไตรอีนอล ซึ่งพบว่าสามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนี้น้ำมันรำข้าวยังสามารถใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหารสัตว์ การใช้กรดไขมันอิสระในการผลิตสบู่ การใช้ไขเป็นส่วนผสมในการขัดเงาต่าง ๆ และ เครื่องสำอางค์

 

น้ำมันกับสุขภาพ

การบริโภคไขมันอิ่มตัว มีส่วนทำให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้สูงเมื่อเทียบกับการบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เป็นประโยชน์อีกตัวหนึ่งคือ กรดโอเลอิก ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในการลดปริมาณโคเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอลที่ไม่ต้องการในเลือดได้ น้ำมันจากธัญพืชที่มีกรดโอเลอิกปริมาณสูงสามารถทนต่อความร้อนสูงเหมาะสำหรับใช้ปรุงอาหารประเภททอดหรือผัดที่ใช้เวลานานๆ เนื่องจากการมีความคงตัวสูง  นอกจากนี้กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจะมีกรดไขมันแบบ n-3 และ n-6  ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถผลิตเอง ต้องได้รับจากสารอาหาร ถือได้ว่าเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกาย   กรดลิโนเลอิก และกรดลิโนเลนิก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเซลล์ของมนุษย์เพื่อ สร้าง arachidonic acid และeicosapentaenoic acid ตามลำดับ  ซึ่งกรดไขมันทั้ง2ตัวนี้เป็นสารตั้งต้นของ eicosanoids ที่ประกอบด้วยprostaglandins, thromboxanes และ leukotrienes ซึ่งก่อให้เกิดผลที่สำคัญต่อกระบวนการทางสรีรศาสตร์ ดังนั้นการปรับปรุงองค์ประกอบไขมันของน้ำมันที่ใช้เป็นอาหารเพื่อคุณค่าทางโภชนาการที่ดีขึ้นนั้นต้องการปริมาณ กรดลิโนเลนิก เพิ่มมากขึ้นและ ลดปริมาณ กรดลิโนเลอิก รวมทั้งการลดระดับกรดไขมันอิ่มตัว 

 

คุณภาพของน้ำมันรำข้าวขึ้นอยู่กับคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของรำข้าวและปัจจัยอื่นนอกจากนี้คือ เอนไซม์ไลเพสและไลพอกซีจีเนส  ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการหืนในการใช้รำข้าวสำหรับบริโภคและใช้เป็นอาหารสัตว์เนื่องจากการเกิดไฮโดรไลซิสและออกซิเดชั่นของไขมันในข้าว

 

ข่าวสารและกิจกรรม

 

ข้าวลูกผสม

บทความแนะนำ งานวิจัยข้าว

ข้าวลูกผสม” Game-Charger of Rice“ข้าว” ซึ่งตามธรรมชาติเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะสร้างเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจึงมีซับซ้อน...

 

 

อนุมูลอิสระ คือ อะไร ? ทำไมต้องสารต้านอนุมูลอิสระ

บทความแนะนำ อนุมูลอิสระ

การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร เช่นวิตามิน อี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอลต่าง ๆ

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

    บริการวิเคราะห์จีโนม

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีแสดงผลได้ถูกต้อง เมื่อใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่ายินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้