โรคเบาหวาน เป็นภาวะผิดปกติ ของร่างกายในการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานที่ “ควบคุมน้ำตาล” ไม่ดี จะเกิดโรคแทรกซ้อน แม้ไม่ทำให้เสีย ชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง คนที่เป็นเบาหวาน มีโอกาสเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 - 4 เท่า อัมพาต 5 เท่า

การป้องกัน โรคเบาหวานทำได้โดยรับประทานอาหาร ให้เหมาะสม ลดอาหาร จำพวกแป้ง ไขมัน เช่น กะทิ อาหารทอด กินผักผลไม้รสไม่หวานจัดให้มากขึ้น ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ ไม่ปล่อยตัวให้อ้วน หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำหรือกินจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ปัสสาวะมีมดขึ้น ต้องรีบ พบแพทย์ 

การรักษาปัจจุบัน แนะนำให้ทำการรักษาเชิงรุก คือ ให้ระดับน้ำตาลในเลือดทั้ง ก่อน และหลังมื้ออาหารอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงปกติ รวมทั้งเน้นให้ ดูแล รักษาโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ต่อ การเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

สถานการณ์โรคเบาหวานของประเทศไทย
จากการสำรวจ ขณะนี้มีคนไทย 3.2 ล้านคนกำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยพบว่าผู้ใหญ่อายุ 35 ปีขึ้นไป 10 คน จะมีคนป่วยเป็นโรคเบาหวาน 1 คน ซึ่งมีผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้ดีเพียง 400,000 คน ส่วนที่เหลือยังควบคุม ไม่ได้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไตวาย โรคหัวใจ ตาบอดหรือถูกตัดขา จากการสำรวจยังพบว่า มีประมาณ 2 ล้านคน ที่มีระดับน้ำตาล ในเลือด สูงผิด ปกติ เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

 

ข้าวสัมพันธ์กับน้ำตาลในเลือดอย่างไร
กลุ่มอาหารหลักที่ให้พลังงานสำหรับคนไทย คือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้งต่างๆ ขนมและผลไม้ รวมทั้งน้ำตาลด้วย โดยข้าวให้พลังงานมากกว่าร้อยละ 60 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากอาหาร ร่างกายจะนำคาร์โบไฮเดรต ไปใช้ได้ต้องถูก ย่อยให้เป็นน้ำตาลเสียก่อน หาก คาร์โบไฮเดรตนั้นถูกย่อยเร็ว ก็จะได้น้ำตาลเร็ว  ซึ่งการที่เซลล์จะนำน้ำตาลไปใช้เป็น พลังงานได้ดีนั้น จำเป็นต้องอาศัยฮอร์โมนอินสุลินซึ่งผลิตจากตับอ่อน ดังนั้นถ้า ในเลือดมีน้ำตาลขึ้นเร็ว ตับอ่อนก็ต้องผลิตอินสุลินได้เร็ว หากในเลือดมีน้ำตาล มากขึ้นก็ต้องใช้อินสุลินจำนวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ตับอ่อนต้องทำงาน หนักขึ้น การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากตับอ่อนทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

 

ดัชนีน้ำตาล
เนื่องจากอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด หลังอาหารสูงขึ้น ดังนั้นการเลือกชนิด และปริมาณของคาร์โบไฮเดรต จึงมี ความสำคัญในการทำให้ระดับน้ำตาล ในเลือดสมดุล และควบคุมโรคเบาหวานดีขึ้น ได้มีการใช้ดัชนีน้ำตาล หรือ Glycemic index (GI) เป็นดัชนีวัดคุณภาพ ของคาร์โบไฮเดรต ใน อาหาร 
การหาค่าดัชนีน้ำตาลวัดโดย  ให้คนรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้อง การ ศึกษา 50 กรัม แล้วติดตามว่าเมื่อกินแล้ว คาร์โบไฮเดรตที่ถูกย่อยและดูดซึม ทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างไรในเวลา 2 ชั่วโมง โดยน้ำตาลกลูโคส มีค่าดัชนี น้ำตาลเท่ากับ 100 เมื่อรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง น้ำตาลในเลือดจะขึ้นสูง และเร็วกว่าอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ 

 

ค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวไทยพันธุ์ใหม่
ข้าวที่ใช้ศึกษาเป็นข้าวที่มีธาตุเหล็กสูง 2 พันธุ์คือ พันธุ์ สินเหล็ก และไรซ์เบอรี่ โดยใช้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขัดสี นำมาทำเป็น มื้ออาหารเช้า ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมีไขมันในเลือดสูง จำนวน 16 ราย ผู้ป่วยกินข้าวแต่ละชนิดกับกับข้าวคือผัดกระเพราไก่ แล้วเก็บตัวอย่าง เลือดในเวลาต่างๆ เป็นเวลา 4 ชั่วโมงภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด จากนักวิจัย ของรพ. รามาธิบดี ข้าวกล้องทั้ง 2 พันธุ์มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวขัดสีพันธุ์เดียวกัน ทั้งนี้เพราะใย อาหารที่อยู่ในรำข้าว ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือด ขึ้นช้า กว่า นอกจากข้าวกล้องจะมีใยอาหารมากกว่าข้าวขัดสีแล้ว ข้าวกล้องยัง มีวิตามิน และเกลือแร่มากกว่า โดยเฉพาะวิตามินบีหนึ่งหรือไธอะมิน (B1) ซึ่งช่วย ป้องกัน โรคเหน็บชาได้ 

 

การศึกษาการบริโภคข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำในระยะยาว
ได้ศึกษาผลของการรับประทานอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำโดยเน้นบริโภคข้าวกล้องพันธุ์ สินเหล็ก วันละ 2 มื้อต่อระดับน้ำตาล และปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีเป้าหมาย  ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับ น้ำตาล ในเลือด ได้ดีขึ้น ช่วยลดภาระของตับอ่อนที่ต้องผลิตอินสุลินเพิ่มขึ้น ตลอดจนลดกลไกการอักเสบในเลือดจากขบวนการออกซิเดชัน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  
ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาว ช่วยชะลอการเกิดภาวะ แทรกซ้อน ทำให้เกิดช้าลง เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

 

ผลการศึกษา         
จากข้อมูลเบื้องต้นโดยเปรียบเทียบผลระหว่างการรับประทานข้าวกล้อง กับข้าวขัดร่วมกับการปรับพฤติกรรมการกินอาหารอื่นๆ ให้ถูกต้องด้วยเป็นเวลา 8 สัปดาห์

 

ผลิตภัณฑ์จากข้าว
ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยเบาหวานจากการค้นพบพันธุ์ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ  2 สายพันธุ์ข้างต้นและยังพบว่าในข้าวพันธุ์เดียวกันข้าวกล้องจะมีดัชนีน้ำตาลที่ต่ำกว่าข้าวขัด ทำให้สรุปได้ว่าปัจจัยสำคัญในรำข้าวมีผลต่อการลดดัชนีน้ำตาล จึงเกิดแนวความคิดในการพัฒนารำข้าวให้เป็นเม็ดยา เพื่อใช้ร่วมกับการบริโภคอาหารประจำวันแทนการบริโภคข้าวกล้องได้ 

 

เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้มีการแปรสภาพรำข้าวในรูปแคปซูลและลูกกลอน ซึ่งพบว่าการทำลูกกลอนมีข้อดีหลายด้าน เนื่องสามารถเพิ่มความหนาแน่นของรำได้ดีกว่าการบรรจุในแคปซูล นอกจากนี้ลูกกลอนยังสามารถแตกตัวในกระเพาะอาหารได้ดีกว่ายาอัดเม็ดอีกด้วย  ปัจจุบันประเทศไทยได้พัฒนาเทคนิคการผลิตเม็ดยาลูกกลอนให้ได้มาตรฐาน ปราศจากเชื้อโรคได้  ดังนั้นการอัดเม็ดยาแบบลูกกลอนน่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับรำข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำมากที่สุด

 

ข้อเสนอแนะ 
ควรสนับสนุนให้คนไทยรับประทานข้าวกล้องให้บ่อยขึ้น เพราะมีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าและมีสารต้านอนุมูลมากกว่าข้าวขัดสี โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ใหม่คือ  ข้าวกล้องพันธุ์ ไรซ์เบอรี่ และพันธุ์ สินเหล็ก ซึ่งดัชนีน้ำตาลต่ำและสารต้านอนุมูลอิสระสูง เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

 

โดยความร่วมมือของ
- สำนักวิจัย คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท กทม.
- ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์-ศิริราชพยาบาล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
- สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม
- ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

 

ข่าวสารและกิจกรรม

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

 

งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes