บทความโดย ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
นับตั้งแต่ ปี 2559-2562 สถิติการส่งออกข้าวของไทยโดยรวมลดลง 32 % ในขณะที่เวียดนามลดลงเพียง 9 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวหอมจากประเทศไทย (1.1 ล้านตัน) ต่ำกว่าเวียดนาม(1.9 ล้านตัน) จึงทำให้น่าวิตกกังวลว่าอนาคตข้าวหอมไทยคงจะไม่สดใสอย่างแน่นอน มีปัจจัยที่สำคัญ คือ ผลผลิตข้าวหอมไทย (500-600 กก/ไร่) เมื่อเทียบกับข้าวหอมเวียดนาม( >1 ตัน/ไร่) เหตุผลข้อที่สอง คือ ราคาข้าวหอมไทย (1,190 USD/ตัน) สูงกว่าของเวียดนาม (510 USD/ตัน) เหตุผลข้อที่สาม ข้าวหอมเวียดนามมีอายุสุกแก่สั้นกว่าข้าวหอมไทยมาก ปัจจุบันผู้บริโภคมักนิยมทานข้าวนอกบ้านทำให้ร้านอาหารเป็นลูกค้าที่สำคัญ เพื่อลดต้นทุน ร้านอาหารจึงนิยมสั่งข้าวนุ่มที่ราคาถูกกว่า มาเสริฟลูกค้า
ตาราง เปรียบเทียบอายุเก็บเกี่ยว ผลผลิต ขนาดเมล็ด และความหอมของข้าวที่ปลูกแบบปักดำในนาเกษตรอินทรีย์ |
||||||
พันธุ์ข้าว |
อายุเก็บเกี่ยว (วัน) |
ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่) |
ความยาวเมล็ดข้าวขัด (ม.ม.) |
ความกว้างเมล็ดข้าวขัด (ม.ม.) |
สัดส่วน |
ความหอม |
หอมมาลัยแมน |
110-115 |
599 |
7.43-7.90 |
1.83 |
4.06 |
4.89 |
ปทุมธานี 1 |
120 |
496 |
7.34 |
1.97 |
3.72 |
2.1 |
ST-24 |
110 |
264 |
7.25 |
1.72 |
4.22 |
4.3 |
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมในเวียดนามอยู่ในมือของบริษัทเอกชนที่เมือง SócTrăng ไม่ใช่รัฐบาล ประเทศเวียดนามได้ทุ่มเทการยกระดับผลผลิต ขนาดเมล็ด และคุณสมบัติทางกายภาพที่ยอดเยี่ยม จนทำให้ต้นทุนผลิตต่ำกว่าไทยมาก และในปี 2018 ข้าวพันธุ์ ST24 ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดข้าวโลก ยิ่งสร้างความกังวลใจให้ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยมากขึ้น เพื่อให้ข้าวหอมนุ่มไทยสามารถขายแข่งกับข้าวหอมเวียดนามได้ จำเป็นต้องยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น หรือ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในต้นทุนเท่าเดิมให้ได้
ข้าวหอมนุ่มพันธุ์ใหม่
เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวหอมนุ่มศูนย์ความเป็นเลิศด้านการปรัปปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหาร, คุณภาพและโภชนาการ อันเป็นหน่วยงานร่วมของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวหอมนุ่มให้มีความต้านทานโรค-แมลงและทนน้ำท่วมฉับพลัน ให้มีผลผลิตสูง ในสภาพการปลูกแบบเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency cultivation) และสภาพปลูกแบบผลผลิตยั่งยืน(Sustainable cultivation) จนทำให้เกิดสายพันธุ์ข้าวหอมอายุสั้น ผลผลิตสูงใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด
ข้าวหอมมาลัยแมนเป็นข้าวหอมนุ่มที่มีกลิ่นหอมระดับสูง แม้จะปลูกในเขตชลประทานภาคกลาง มีเมล็ดเรียวยาวมากถึง 7.9 mm. ข้าวสารมีความใส อายุเก็บเกี่ยวสั้น(110 วันปักดำ, 95 วันนาหว่าน) ปลูกง่าย มีการปรับตัวดีกับความต้านทานโรค-แมลง ปานกลาง ในระดับแปลง ข้าวหอมมาลัยแมน กำลังได้รับการส่งเสริมให้ปลูกในภาคกลางและตะวันออก เพื่อเปิดตลาดในจีน เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมของเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าว ST24 ในระบบการปลูกแบบปักดำในนาเกษตรอินทรีย์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวพบว่ามีผลผลิตต่ำกว่าข้าวหอมมาลัยแมนเท่าตัวและมีความยาวเมล็ดสั้นกว่าข้าวหอมมาลัยแมน มีกลิ่นหอมใกล้เคียงกัน ดังนั้นข้าว ST24 จึงไม่น่าเป็นคู่แข่งที่สำคัญกับข้าวหอมไทย
การเกษตรแม่นยำเพื่อยกระดับกลิ่นหอม
ปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าข้าวหอมมีกลิ่มหอมน้อยลงการพัฒนาข้าวหอมพันธุ์ใหม่ที่สามารถผลิตสารหอมได้มากขึ้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ข้าวหอมหอมมากยิ่งขึ้น คือ วิธีการกระตุ้นกระบวนการสร้างสารหอมให้สูงขึ้นโดยการกำหนดฤดูปลูก การใช้ปุ๋ย ธาตุอาหาร น้ำ และสารกระตุ้นกลิ่นหอม อากาศที่เย็น การขาดน้ำ และความเค็ม ในระยะสร้างเมล็ดจะทำให้ข้าวมีความหอมมากยิ่งขึ้น แต่ทำให้ผลผลิตลดลง การใช้ปุ๋ยเคมีที่มุ่งเน้นผลผลิตสูงสุดในทางตรงกันข้ามจะไปลดการสะสมสารหอมในเมล็ดข้าวศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวร่วมกับสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ได้พัฒนาวิธีการปลูกข้าวหอมให้หอมยิ่งขึ้นที่เรียกว่าเทคนิคกระตุ้นกลิ่นหอม เทคนิคดังกล่าวสามารถเพิ่มการสะสมสารหอมได้มากกว่า 30% ในข้าวหอมมะลิ ขณะเดียวกันยังเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวให้สูงขึ้นด้วย โดยเพิ่มต้นทุนเพียงเล็กน้อย ทำให้ผลผลิตข้าวหอมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีราคาสูงขึ้นได้
ภาพสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการปรัปปรุงพันธุ์ข้าวอย่างแม่นยำ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร คุณภาพและโภชนาการ)
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการปรัปปรุงพันธุ์ข้าวอย่างแม่นยำ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร คุณภาพและโภชนาการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
http://dna.kps.ku.ac.th
การบริหารการตลาดข้าวหอมไทย
ประเทศไทยมีมาตรฐานข้าวหอมอยู่ สองส่วน คือ ข้าวหอมมะลิไทย (Thai Hommali Rice) และข้าวหอมไทย (Thai Jasmin Rice) ข้าวหอมมะลิไทย เป็นผลผลิตจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 โดยมีลักษณะทางกายภาพ, เคมี และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ (DNA test) ที่เข้มงวด ส่วนข้าวหอมไทยเป็นผลผลิตของข้าวหอมที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทย โดยมีข้อกำหนดเรื่อง กายภาพ, เคมี, การหุงต้ม และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ที่หย่อนกว่า แต่อย่างไรก็ตามมาตรฐานข้าวนุ่มที่ไม่มีกลิ่นหอมยังไม่ได้ถูกกำหนด ในที่สุดข้าวนุ่มไม่หอมจึงถูกนำไปผสมกับข้าวหอมชั้นหนึ่ง ทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยเสียหาย ในหลายกรณีข้าวพื้นนุ่มที่ไม่มีตลาด ถูกนำไปผสมกับข้าวพื้นแข็ง ทำให้คุณภาพการทำข้าวนึ่ง, เส้นก๋วยเตี๋ยว และขนมจีน ด้อยคุณภาพลง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวพื้นนุ่มเจือปนในข้าวชนิดอื่นๆ รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานข้าวพื้นนุ่มขึ้นมา และทำตลาดสู่ผู้บริโภคที่ชอบบริโภคข้าวนุ่มทั้งในและต่างประเทศต่อไป เพื่อทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลกสูงขึ้น