ข่าวประชาสัมพันธ์

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ: การจัดการสวนมะพร้าวตาลเพื่อผลิตน้ำตาลมะพร้าวคุณภาพสูง

 

หลักการและเหตุผล

                มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นพืชที่มีความผูกพันกับวัฒนธรรมและมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ มะพร้าวที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก มะพร้าวต้นสูง ให้ผลโต ในทางอุตสาหกรรม นอกจากใช้เนื้อมะพร้าวแก่ในการทำอาหารหวานคาวและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำกะทิสำเร็จรูปส่งจำหน่ายทั่วโลกแล้ว ส่วนของกาบมะพร้าวยังถูกแปรรูปไปเป็นเส้นใยผลิตเป็นที่นอน ส่วนกะลาแปรรูปเป็นถ่านและเพิ่มมูลค่าสูงเป็นถ่านกัมมันต์ มะพร้าวกลุ่มที่สองเป็นพวก มะพร้าวต้นเตี้ย ให้ผลเล็ก ได้แก่  มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน และมะพร้าวตาล ผลของมะพร้าวพวกนี้นิยมรับประทานผลสด หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวและน้ำตาลสดและน้ำตาลก้อนจากดอกมะพร้าว และปัจจุบันมีน้ำตาลเกร็ดจากน้ำตาลมะพร้าวสำหรับชงกาแฟอีกด้วย  ประเทศไทย ถือเป็นแหล่งกำเนิดมะพร้าวที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น สายพันธุ์มะพร้าวที่ให้ปริมาณน้ำตาลสดมาก  ได้แก่  พันธุ์สาริชา พันธุ์สายบัว และพันธุ์ทะเลบ้า นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลมะพร้าว แม้ว่าประเทศไทยถือว่ามีความหลากหลายทางสายพันธุ์มะพร้าวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่ในปัจจุบันมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทยส่วนใหญ่หายากและมีพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก

 

                เพื่อเป็นการอนุรักษ์มะพร้าวพันธุ์ดีของประเทศและการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ที่สนใจการปลูกมะพร้าว โดยเฉพาะมะพร้าวที่ใช้ทำน้ำตาล ซึ่งนับวันเกษตรกรกลุ่มนี้จะมีจำนวนน้อยลงเนื่องจากอายุมากขึ้น จึงหยุดทำตาล  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและแนะนำวิธีการปลูกและการจัดการ ตลอดจนการบริหารสวนมะพร้าวให้กับเกษตรกรผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวตาล ซึ่งมีความต้องการในตลาดทั้งในและต่างประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำตาลมะพร้าวถือว่าเป็นน้ำตาลที่มีคุณภาพสูงและมีประโยชน์ในการบริโภคที่มาพร้อมกับลักษณะพิเศษคือค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (low glycemic index) ซึ่งส่งผลให้การผลิตน้ำตาลแท้จากมะพร้าวมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับเกษตรกรส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาคุณภาพน้ำตาลมะพร้าวและใช้สารเคมี ดังนั้นการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จึงเป็นการส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พันธุกรรมมะพร้าว ส่งเสริมเกษตรกรในการพัฒนาอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าว ให้อยู่คู่กับสังคมวัฒนธรรมไทย ซึ่งหากเกษตรกรมีอาชีพมั่นคงมีรายได้อย่างต่อเนื่อง มีการปลูกและใช้พันธุ์มะพร้าวทำตาลต่อไป จะเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมมะพร้าวในถิ่นกำเนิด (In situ conservation) อย่างยั่งยืนต่อไป

 

ลงทะเบียนออนไลน์  (ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)

Link : https://goo.gl/forms/SsZUSCU9LwkGWgOl1

 

 

เวลาและสถานที่จัด

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สถานที่: กลุ่มน้ำตาลมะพร้าวปลอดสารพิษ หมู่ 2 บ้านบางสะไภ้ ตำบลนางตะเคียน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

 

 

หน่วยงานร่วมจัด

  1. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องการมหาชน)
  2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
  3. สถาบันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

 

 

โปรแกรมการประชุม

 

 

 

 

บทความล่าสุด

ข่าวสารอัพเดด

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes