ข้าวคิมหันต์

Kim Han

 

พันธุ์ข้าวทนทานต่ออุณหภูมิสูง พันธุ์แรกของประเทศไทย “พันธุ์คิมหันต์”

โดย รศ.ดร.ชเนษฎ์ ม้าลำพอง ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน และคณะ

 

ดร.สุไร ลมาน เจ๊ะอาบู             คณะเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชครินทร์
รศ.ดร. ศิวเรศ อารีกิจ            ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฒ์        ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายพีรพล ม่วงงาม              ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมการข้าว  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นางสาวบังอร ธรรมสามิสรณ์    สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร       ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายสุนิยม ตาปราบ               กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 

 

โครงการค้นหาสายพันธุ์ทนทานต่ออุณหภูมิสูงจากประชากรข้าวหอมนิลสายพันธุ์กลาย และ การปรับปรุง พันธุ์พันธุ์ข้าวทนทานต่ออุณหภูมิสูง ได้รับทุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร งบประมาณปี พ.ศ. 2554- 2561 โดยได้เริ่มค้นหาสายพันธุ์ทนทานต่ออุณหภูมิสูงจากประชากรข้าวหอมนิลพันธุ์กลาย จำนวน 12,000 สาย พันธุ์ จนได้สายพันธุ์ M9962 ที่ทนทานต่ออุณหภูมิสูงที่ 40 ºC ในระยะเจริญพันธุ์

 

ได้เริ่มการผสมระหว่างพันธุ์ พิษณุโลก2 (พันธุ์รับ: แม่) x สายพันธุ์ M9962 (พันธุ์ให้ทนร้อน: พ่อ) ในปี พ.ศ. 2556 ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 และทำการ ผสมกลับ (backcross) ไปหาพันธุ์พิษณุโลก2 อีก 2 ครั้ง ได้ชั่วที่ BC2F1 จากนั้นจึงทำการผสมตัวเองและคัดเลือก แบบจดประวัติ (pedigree  selection)  จนถึงชั่วที่  BC2F4 ในสภาพโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิกลางวัน (40-42ºC) แล้วจึงทำการทดสอบผลผลิตเบื้องต้น (preliminary yield trial)

 

ในสายพันธุ์ชั่วที่ BC2F5 ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 4 สายพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ในฤดูนาปรัง ในปี พ.ศ. 2561 ทั้งในสภาพแปลงและโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ สุดท้ายจึงได้ทำการทดสอบผลผลิตสายพันธุ์ชั่วที่ BC2F7 ในฤดูนา ปรัง ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 4 สถานที่ ได้แก่ แปลงทดลองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม สถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติ จ.สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จ.ปทุมธานี และโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งพบว่า สายพันธุ์ BC2F7-6-5-4-1-1-21 มีลักษณะทรงต้นที่ใกล้เคียงกับพันธุ์พิษณุโลก2 แต่มีศักยภาพการให้ผล ผลิต และการติดเมล็ด ในสภาพอุณหภูมิสูง (>40ºC) ที่ดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 จึงตั้งชื่อสายพันธุ์ข้าวนี้ว่า

 

“คิมหันต์” ซึ่งหมายถึง   ข้าวที่เหมาะกับการปลูกในฤดูร้อน   และได้ขอออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน   กับสำนักงาน คุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เมื่อ เมษายน 2564 และได้รับหนังสือรับรอง พันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2564

 

 

 

ภาพเปรียบเทียบทรงต้นของพันธุ์คิมหันต์ กับ พิษณุโลก2 (แม่) และ สายพันธุ์ M9962 (พ่อ)

 

 

ลักษณะประจำพันธุ์

  • ข้าวเจ้า สูงประมาณ 95 เซนติเมตร
  • ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
  • ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง รวงแน่นปานกลาง
  • ข้าวเปลือกสีฟาง
  • เมล็ดยาว รูปร่างเรียว
  • ขนาดเมล็ดข้าวเปลือก ยาว 10.1 มม. กว้าง 2.5 มม.
  • ขนาดเมล็ดข้าวสาร ยาว 7.6 มม. กว้าง 2.0 มม.
  • ค่าการละลายด่าง (Alkaline test) ระดับคะแนน 7
  • ปริมาณ อะไมโลส 30% (ข้าวแข็ง)
  • คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง
  • ทนทานต่ออุณหภูมิสูง ในระยะดอกบานจนถึงเก็บเกี่ยวที่อุณหภูมิ 40-42 ºC ดยมีร้อยละการติดเมล็ดมากกว่า 70% ภายใต้อุณหภูมิสูง
  • ผลผลิต ฤดูนาปรัง 830 กก./ไร่

 

 

 

 

 

ภาพแผนการปรับปรุงพันธุ์ คิมหันต์ (BC2F7-6-5-4-1-1-21)

 

 

 

 

ภาพ แปลงทดสอบผลผลิตนาปรัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

  

 

 

ภาพรวงข้าวพันธุ์คิมหันต์ที่เก็บเกี่ยวจากแปลงทดสอบผลผลิตฤดูนาปรัง

 

 

 

ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรกำแพงแสน
https://agron.agri.kps.ku.ac.th 

งานวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าว

บทความล่าสุด

ข่าวสารอัพเดด

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes