ข้าวไรซ์เบอร์รี่

Riceberry

  

Riceberry is a newly registered (2002) rice variety from Thailand originated from a cross-breed between Jao Hom Nin (JHN), the local non-glutinous purple rice and Khoa Dawk Mali 105, the Thai Hom Mali Rice, by Rice Science Center, Kasetsart University, Thailand.  From 4 years of strenuous selection for nutritional properties, anthocyanin stability, physical and cooking properties.  The outcome is the deep purple whole grain rice with softness and palatable after taste.  Riceberry has been the most popular brown rice known for health promoting properties.  Attracting people to consume more brown rice is the most significant steps in solving food-related chronic diseases like diabetes, heart disease, high blood chloresterol, obesity and cancers.

 

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการคัดเลือก และพัฒนาพันธุ์ขึ้นโดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(พันธุ์พ่อ) กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว(พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน   เมื่อได้ลูกผสม  F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น ทำการคัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี, การติดเมล็ดดี, รูปร่างเมล็ดเรียวยาว จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกระเทาะเมล็ดแล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่นของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3 family เพื่อปลูกและคัดเลือกครอบครัวที่มีต้น ที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว, ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง, เปลือกเมล็ดสะอาด, คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวกล้อง 

 

 
Production and Cultivation


 The areas of Riceberry rice production are in the Northern and North-East of Thailand. During the months of August to December (wet season) is suitable for Riceberry planting. Table Agronomic characteristics, grain quality and cooking quality of Riceberry 

  

ลักษณะประจำพันธุ์  Characteristics


  • ความสูง : Plant height
105 - 110 ซม. : cm
  • อายุเก็บเกี่ยว : Day of maturity 
130 วัน  :  Day
  • ผลผลิต : Yield 
300 - 500 กก/ไร่  :  kg/rai
  • % ข้าวกล้อง : Brown rice
76 %
  • % ข้าวเต็มเมล็ด : Head rice
50 %
  • อะไมโลส : Amylose                
15.6 %   
  • อุณหภูมิแป้งสุก : Gel Temperature
<70 องศา  :  °C
  • ไม่ไวต่อช่วงแสง
 

 

  

ความยาวของเมล็ด Grain Length


  • ข้าวเปลือก : Paddy rice
11 mm
  • ข้าวกล้อง : Brown rice
7.5 mm
  • ข้าวขัด : Polished rice
7.0 mm

 

  

 

คุณค่าทางโภชนาการในข้าวกล้อง


คุณค่าทางโภชนาการ ในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) ในระดับความเข้มข้น 15.7 มก./100กรัม รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีค่า ORAC ถึง 400 Trolox eq./g งานวิจัยล่าสุดพบว่าในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง Lupeol และสารอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการสกัด นับเป็นครั้งแรกที่มีรายงานการค้นพบ Lupeol ในข้าว ในส่วนของน้ำมันรำข้าวบีบเย็น เมื่อเทียบกับน้ำมันงาแบบหีบเย็น มี beta-carotene อยู่ถึง 23 µg/g และ lutein 14-15µg/g (ไม่มีในน้ำมันงา) พร้อมทั้ง gamma-oryzanol 135 µg/g โดยมีค่า ORAC อยู่ที่ 215 µmol Trolox/g

 

จากการทดสอบคุณสมบัติของสารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด คือเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Caco-2) เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60) พบว่า สารสกัด ทั้งชนิดไม่สกัดน้ำมันออก (DCM fraction) และชนิดที่สกัดน้ำมันออกไปบ้าง (MeOH fraction) ให้ผลยับยั้งเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะสารสกัดจาก DCM fraction ให้ผลที่ดีกว่าสารสกัดจาก MeOH fraction และเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือดขาว มีความไวต่อการถูกชักนำให้เกิดการตาย ภายหลังการได้รับสารสกัดได้เร็วที่สุด ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รำข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง

 

Nutrition Properties


 Riceberry is enriched with both water soluble, mainly anthocyanin and lipid soluble antioxidants, such as carotenoid, gamma oryzanol, and vitamin E.   All nutritive properties of Riceberry are contained in its rice bran with only small fraction was accumulated in its endosperm.  This is true for all cereals, therefore, it is best to consume whole than polished grains. Nutritional properties of Riceberry is concentrated in its rice bran.  The potential anti-cancer activity of compounds extracted from Riceberry bran was evaluated in human cancer cell lines (Caco-2, MCF-7 and HL-60)

 

 In clinical studies in which participants at the Faculty of Medicine at Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Riceberry whole-grain rice has a "medium" glycemic index (GI=62) [3].  Also the potential of Riceberry bran to improve hyperglycemia and hyperlipidemia conditions as well as alleviate oxidative stress and inflammation.  The effect of Riceberry oil supplementation also affected hyperglycemia and change in lipid profile in Streptozotocin (STZ)-induced diabetic rats fed a high fat diet.  Riceberry bran oil, a nutraceutical food, may be useful as an alternative food supplement for the alleviation of hyperglycemia and dyslipidemia conditions..  Riceberry has potential as an effective agent for neurodegeneration and memory impairment in Alzheimer's disease.

 

 

สิทธิบัตร 


พันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ผ่านการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่แล้ว  

Patent


Riceberry rice was certified Plant varieties protection (PVP) by the Plant varieties protection division, Thailand.

 

เครื่องหมายการค้า


ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ผ่านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ประเทศไทย และได้มีการจดทะเบียนในต่างประเทศ 


Trademark


Riceberry registered several trademarks at national and international levels.

  

 

 

 คุณสมบัติทางโภชนาการ  Nutrition facts


  • ธาตุเหล็ก : Iron
13-18 mg/kg 
  • ธาตุสังกะสี : Zinc
31.9 mg/kg
  • โอเมกา 3 : Omega 3
25.51 mg/100g 
  • วิตามิน อี : Vitamin E
678 ug/100g
  • โฟเลต : Folate
48.1 ug/100g  
  • เบต้าแคโรทีน : Beta Carotene
63 ug/100g
  • โพลีฟีนอล : Polyphenol
113.5 mg/100g
  • แทนนิน : Tannin
89.33 mg/100g
  • แกมมาโอไรซานอล : Gamma Oryzanol
462 ug/g

 

   

 สารต้านอนุมูลอิสระ  Antioxidant


  • ชนิดละลายในน้ำ  : Water-soluble

47.5mg ascorbic acid quivalent/100g

  • ชนิดละลายในน้ำมัน  : Oil-soluble
33.4 mg trolox equivalent/100 g

 

  

วิธีการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่


 

 

References


  1. ข้าวไรซ์เบอร์รี่ Riceberry  - Rice Gene Discovery & Rice Science Center (RGD&RSC). Kasetsart University
  2. อภิชาติ วรรณวิจิตร, พรรัตน์สินชัยพานิช, สุกัญญา วงศ์พรชัย, รัชนี คงคาฉุยฉาย, ประไพศรี ศิริจักรวาล, ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์ และวิจิตราเลิศกมลกาญจน์. รายงานการวิจัย โครงการบูรณาการ เทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าสูง ปีงบประมาณ 2551. สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  3. รัชนี คงคาฉุยฉายและคณะ. 2553. รายงานการวิจัย โครงการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าสูง: โครงการวิจัยย่อยที่ 4: การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการเบื้องต้น และการประเมินความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กจากข้าวในระดับเซลล์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
  4. Leardkamolkarn V, Thongthep W, Suttiarporn P, Kongkachuichai R, Wongpornchai S, Vanavichit A. 2011. "Chemopreventive properties of the bran extracted from a newly-developed Thai rice: The Riceberry". Food Chemistry. 125 (3): 978-985.
  5. ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์ และคณะ รายงานการวิจัย โครงการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าสูง บทที่ 6 ดัชนีน้ำตาลในข้าวโภชนาการสูง. 2548. สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  6. Prangthip, P., Surasiang, R., Charoensiri, R., Leardkamolkarn, V., Komindr, S., Yamborisut, U., Vanavichit, A., Kongkachuichai, R. 2013. "Amelioration of hyperglycemia, hyperlipidemia, oxidative stress and inflammation in steptozotocin-induced diabetic rats fed a high fat diet by riceberry supplement". Journal of Functional Foods. 5 (1):195-203.
  7. Kongkachuichai, R., Prangthip, P., Surasiang, R., Posuwan, J., Charoensiri, R., Kettawan, A., Vanavichit, A. 2013. "Effect of Riceberry oil (deep purple oil; Oryza sativa Indica) supplementation on hyperglycemia and change in lipid profile in Streptozotocin (STZ)-induced diabetic rats fed a high fat diet". International Food Research Journal. 20 (2): 873-882.
  8. Wassanan Pannangroung, Jintanaporn Wattanathorn, Supaporn Muchimapura, Somsak Tiamkao, Terdthai Tong-Un. 2011. "Purple Riceberry is neuroprotective and enhances cognition in a rat model of Alzheimer's disease". Medical Food 14:688-94.

 

 

  

 

 

 

 

งานวิจัยและพัฒนาพันธ์ุข้าว

บทความล่าสุด

ข่าวสารอัพเดด

วิธีการปลูกข้าว ระบบเกษตรอินทรีย์

วิธีการปลูกข้าว ระบบเกษตรอินทรีย์


.     1) การเตรียมแปลงปลูกข้าว 2) การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน3) การปลูกพืชเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเคมี4) การควบคุมวัชพืช5) การเตรียมเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว 6) การปลูกแบบปักดำ7) การจัดการน้ำในแปลงนา8) การจัดการโรคและแมลงของข้าวอินทรีย์9) การเก็บเกี่ยวข้าว10) การตากข้าวและการจัดเก็บผลผลิต           .         1) การเตรียมแปลงปลูกข้าว เป็นการเตรียมดินโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรง ประกอบด้วย การไถดะ คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้ง ตลอดจนเป็น การคลุกเคล้าฟาง…

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes