โดย “ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยํา (APBT) - BIOTEC และ NSTDA”
ซึ่งดำเนินงานวิจัยที่ผ่านมามากกว่า 15 ปี ทีมวิจัยสามารถนําเครื่องหมายดีเอ็นเอเข้าไปช่วยในการปรับปรุง พันธุ์ในหลากหลายพืชสําคัญทางเศรษฐกิจ อาทิ เช่น ข้าว จนประสบความสําเร็จ
และอีกหนึ่งโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ
Marker-Assisted Selection (MAS) in Tomato Breeding
Link website ข้อมูลเพิ่มเติม: https://dna.kps.ku.ac.th/tomatomics/index.php
การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก (Marker Assisted Selection: MAS)
มะเขือเทศพันธุ์ปลูก (cultivated tomato, Solanum lycopersicum L.) เป็นพืชผักที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว แหล่งผลิตที่สำคัญของมะเขือเทศส่วนใหญ่ในประเทศไทยประมาณร้อยละ 80 อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อย่างไรก็ตามมะเขือเทศเป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อโรคจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคเหี่ยวเขียว และโรคใบหงิกเหลือง ส่งผลเสียหายต่อการผลิตมะเขือเทศ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังพบว่าอุณภูมิที่สูงขึ้นจากสภาวะสิ่งแวดล้อมวิกฤติมีผลต่อผลผลิตในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนเป็นอย่างมาก
ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศให้มีความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว และใบหงิกเหลือง รวมถึงทนสภาวะอุณหภูมิสูง โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก (Marker Assisted Selection: MAS) เพื่อควบรวมยีน หรือ QTL เข้าไปในฐานพันธุกรรมของสายพันธุ์มะเขือเทศกลุ่มต่างๆ เช่น มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศเชอร์รี่ มะเขือเทศผลใหญ่รับประทานสด รวมถึงมะเขือเทศผลใหญ่เพื่ออุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีนี้มาช่วยร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม จะทำให้การปรับปรุงพันธุ์เป็นไปด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ ต้นแบบสายพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่จะมีคุณภาพและผลผลิตไม่แตกต่างไปจากพันธุ์เดิม หรือดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีความต้านทานต่อโรคแบบกว้าง และทนต่ออุณหภูมิสูง เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศ