ข่าวประชาสัมพันธ์

เทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมเอกลักษณ์ของไทย

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2553

นักวิจัยหน่วยปฏิบัติกาค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2553 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

 

หน่วยปฏิบัติการฯเป็นหน่วยบ่มเพาะนักศึกษาในระดับปริญญาโท,เอก และหลังปริญญาเอกที่ดีที่สุดอันหนึ่ง โดยถือว่านักศึกษาทั้งหมด คือกลไกในการขับเคลื่อนงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่างานวิจัยที่ได้ดำเนินการมาถือเป็นความริเริ่มใหม่ๆทั้งสิ้น เป็นงานวิจัยที่ต้องศึกษาหาความรู้เสมอด้วยความเป็น“สหวิทยาการ” ของหน่วยปฏิบัติการฯ ทำให้งานวิจัยจีโนมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมีผลงานที่เกษตรกรและผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ จึงถือว่าเป็นรอยต่อ “ทางเทคโนโลยีชีวภาพ” ที่หายากยิ่งในปัจจุบัน

 

ผลงานของหน่วยปฏิบัติการฯ เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ เกษตรกรและผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง หน่วยปฏิบัติการฯ มีความเป็นผู้นำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของข้าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ประ เทศไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 หน่วยปฏิบัติการฯ  จึงเสมือนหัวหอกสำคัญของประเทศ ในการพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทั้งหอมและมีโภชนาการสูง สู่ตลาดโลก

 


ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2553 ว่า นักเทคโนโลยีดี เด่นปีนี้มอบเป็นคณะ ซึ่งสร้างผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว ที่เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 12

 

 

ผลงานการวิจัยดังกล่าวได้นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงในการปรับปรุง พันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว ได้เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่มากถึง 8 สายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่น โดยเพิ่มคุณสมบัติการต้านทานโรคแมลง สามารถเพาะปลูกได้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นในพื้นที่แล้ง หรือพื้นที่ดินเค็ม และด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์สั้นลง และเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่อย่าง หอมมะลิ 105 และข้าวเหนียวหอม กข.6 ซึ่งปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวในปริมาณมากถึง 80%

 

 

“ผลงานการวิจัยของ ดร. อภิชาติ และคณะ เน้นการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยไม่ใช้วิธีดัดแปรพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งทีมวิจัยดังกล่าวยังได้ศึกษายีนความหอมในพืชอื่นเช่นถั่วเหลือง ซึ่งมีคุณลักษณะเด่นด้านความหอมไม่แพ้ข้าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ต่อ ไป”ประธานกรรมการโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น กล่าว

 

รศ.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน้าศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า ปัจจุบันนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวสามารถพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการดึงลักษณะเด่นของข้าวแต่ละสายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม หรือการแสดงออกของยีนที่แตกต่าง หรือ Molecular Maker Snip ซึ่งทำให้การค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ทำได้เร็วขึ้น ในช่วง 3 ปี จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี กว่าจะได้ข้าว 1 สายพันธุ์

 

   “เทคโนโลยีทำให้การขยายพันธุ์ข้าวเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องลง ทุนเป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา เพราะกว่าจะได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 10 ล้านบาท แต่ผลการวิจัยสามารถค้นหาข้าวสายพันธุ์ที่มีหลายคุณลักษณะเด่นในสายพันธุ์ เดียว ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่เทคนิคจีเอ็มโอทำไม่ได้”  

 

แม้เงินทุนวิจัยจะคงที่แต่การที่นักวิจัยรู้ลำดับพันธุกรรมและความแตก ต่างของยีนสำคัญๆ ในข้าว ทำให้กระบวนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตทำได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งในระยะยาวต้นทุนการพัมนาสายพันธุ์ข้าวยังมีแนวโน้มถูกลง โดยร่วมมือกับกรมการข้าวและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์แจกจ่ายพันธุ์ข้าว ให้ถึงมือเกษตร

 


 “ผมตั้งเป้าว่าจะพัฒนาข้าวสายพันธุ์ให้ได้ปีละ 1 สายพันธุ์ ภายในปี 2555 นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวระดับนานาชาติถอดรหัสจีโน มข้าว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการปรับปรุงพันธุ์โดยไม่ต้องใช้เทคนิคจีเอ็มโอ ตลอดจนมองถึงยีนความหอมซึ่งพบในพืชอื่น เช่น ยีนของมะพร้าวน้ำหอมซึ่งส่วนตัวมองว่าน่าสนใจ” เจ้าของรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นกล่าว

 

 

พร้อมกันนี้มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้ตัดสินรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่มอบให้แก่นักเทคโนโลยีที่ มีผลงานเด่นและอายุไม่เกิน 35 ปี จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผศ.โชติรัตน์ รัตนามหัทธะ จากภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการใช้ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงในการทำเหมืองข้อมูลผศ.พิมพ์ทอง ทองนพคุณ จากคณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา จากผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตนาโนซิลเวอร์เคลย์และเทคนิคการขึ้นรูป เครื่องประดับเงินจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ และ ผศ.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ จากภาควิชาวิศวคอมพิวเตอร์ จากผลงานการสร้างเครื่อง Smart Doser ผสมสารละลายด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และกาสรพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ในระดับอุตสาหกรรม

 

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบเรือใบซูเปอร์มด พร้อมเงินรางวัล 6 แสนบาท สำหรับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และ 1 แสนบาทสำหรับนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ในวันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา

 

 

 

บทความล่าสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes