งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

 ผลงานจากทีมวิจัย RSC KU BIOTEC NSTDA

รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่ม ประจำปี

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2553 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2553 โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่ม 


เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว
 คณะวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) ช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่หอมและต้านโรค-แมลงศัตรูพืช รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของข้าว เช่น ภาวะน้ำท่วมฉับพลัน จนสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว จำนวน 8 สายพันธุ์ (ทั้งหมดอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร)  โดยข้าวที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์และได้เป็นที่นิยมในการนำไปปลูกจริงจากเกษตรกร ได้แก่ พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร, ข้าวสินเหล็ก และข้าวเหนียวหอม กข 6 (ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคอิสานและภาคเหนือ คือ ในจังหวัดชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร แพร่ และ น่าน ได้ใช้สายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม กข 6 ในการเพาะปลูก ประมาณ 80% ของพื้นที่เพาะปลูก) หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว เป็นหน่วยวิจัยภายใต้ความร่วมมือระหว่างไบโอเทคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีรศ. ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร เป็นหัวหน้าคณะวิจัย และมีผู้ร่วมวิจัยจำนวน 21 คน ได้รับรางวัลจากผลงาน “เทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอม (2-accetyl-pyrroline) เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว” ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญ 2 ส่วน 

 

 

เทคโนโลยีการเพิ่มสารหอมในข้าว คณะวิจัยได้ค้นพบยีนส์ควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้วิธี map-based cloning (ไม่ใช่ GMO) จึงทำให้พบกระบวนการที่ทำให้ข้าวมีการสะสมสารประกอบ 2-accetyl-pyrroline (2 AP) ซึ่งเป็นสารหอมหลักของข้าวทุกสายพันธุ์ เพื่อนำไปใช้เพิ่มระดับความหอมของข้าวในข้าวพันธุ์อื่นๆ โดยใช้วิธี functional marker (Aromarker) ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะความหอมของข้าวหอมมะลิไปสู่สายพันธุ์อื่นๆที่มีผลผลิตสูงแต่ไม่หอม จนได้ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ๆที่มีผลผลิตสูงและกำลังได้รับความนิยมปลูกจากเกษตรกร เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร และข้าวสินเหล็ก เป็นต้น โดยในการปลูกข้าวในนาชลประทาน ข้าวหอมเหล่านี้ให้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่ มากกว่าการปลูกโดยข้าวพันธุ์เดิมกว่า 50%

 

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน้าคณะวิจัย เน้นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพว่า  “เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์พืช ถือเป็นการลงทุนทำงานในขั้นแรก จากนั้นเมื่อประสบความสำเร็จ เราก็สามารถทำงานด้านการขยายพันธุ์ได้เลย” 

 

ข่าวสารและกิจกรรม

 

ข้าวลูกผสม

บทความแนะนำ งานวิจัยข้าว

ข้าวลูกผสม” Game-Charger of Rice“ข้าว” ซึ่งตามธรรมชาติเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะสร้างเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจึงมีซับซ้อน...

 

 

อนุมูลอิสระ คือ อะไร ? ทำไมต้องสารต้านอนุมูลอิสระ

บทความแนะนำ อนุมูลอิสระ

การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร เช่นวิตามิน อี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอลต่าง ๆ

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

    บริการวิเคราะห์จีโนม

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีแสดงผลได้ถูกต้อง เมื่อใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่ายินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้