งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

 ผลงานจากทีมวิจัย RSC KU BIOTEC NSTDA

โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์, มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย, ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธัญญเจริญผล (กิจการเพื่อสังคม)

 

 

แนวคิดและความเป็นมาของการดำเนินโครงการ
เนื่องด้วยกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบในการส่งเสริมด้านการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และ รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีแนวคิดร่วมกันที่จะดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมพรรษาครบรอบ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงได้หารือเกี่ยวกับการจัดทำแนวทางดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

 

ในการนี้ จึงเกิดเป็นโครงการความร่วมมือจากหลายฝ่ายซึ่งมีศักยภาพในแต่ละด้าน เพื่อให้โครงการเกิดความชัดเจนในเรื่องกระบวนการดำเนินโครงการและบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่ายซึ่งจะสามารถทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ โดยกระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเหมาะสมกับการส่งเสริมการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมพรรษารวม ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๙

เพื่อส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคมีความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าอินทรีย์มากขึ้น เพื่อความยั่งยืนทางอาหารภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกสินค้าอินทรีย์ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ภายใต้แนวความคิด “ครัวไทย Organic Riceberry สู่ครัวโลก”

เป้าหมายของโครงการ
ขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ใน ๑๒ วัลเลย์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ เพิ่มขึ้นอีกจำนวน ๒๐,๐๐๐ ไร่ จากเดิมจำนวน ๑๐,๐๐๐ ไร่ ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ รวมจำนวนพื้นที่สำหรับดำเนินโครงการเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๓๐,๐๐๐ ไร่ ในปี พ.ศ.๒๕๕๙

ส่งเสริมการตลาดและสร้างแบรนด์เพื่อให้ข้าวไรซ์เบอรี่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ข่าวสารและกิจกรรม

 

ข้าวลูกผสม

บทความแนะนำ งานวิจัยข้าว

ข้าวลูกผสม” Game-Charger of Rice“ข้าว” ซึ่งตามธรรมชาติเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะสร้างเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจึงมีซับซ้อน...

 

 

อนุมูลอิสระ คือ อะไร ? ทำไมต้องสารต้านอนุมูลอิสระ

บทความแนะนำ อนุมูลอิสระ

การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร เช่นวิตามิน อี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอลต่าง ๆ

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

    บริการวิเคราะห์จีโนม

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีแสดงผลได้ถูกต้อง เมื่อใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่ายินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้