งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

 ผลงานจากทีมวิจัย RSC KU BIOTEC NSTDA

โดย ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร

 

ประเทศไทยมีมาตรฐานข้าวหอมอยู่ สองส่วน คือ ข้าวหอมมะลิไทย (Thai Hommali Rice) และข้าวหอมไทย (Thai Jasmin Rice) ข้าวหอมมะลิไทย เป็นผลผลิตจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 โดยมีลักษณะทางกายภาพ, เคมี และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ (DNA test) ที่เข้มงวด ส่วนข้าวหอมไทยเป็นผลผลิตของข้าวหอมที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทย โดยมีข้อกำหนดเรื่อง กายภาพ, เคมี, การหุงต้ม และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ที่หย่อนกว่า แต่อย่างไรก็ตามมาตรฐานข้าวนุ่มที่ไม่มีกลิ่นหอมยังไม่ได้ถูกกำหนด ในที่สุดข้าวนุ่มไม่หอมจึงถูกนำไปผสมกับข้าวหอมชั้นหนึ่ง ทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิไทยเสียหาย ในหลายกรณีข้าวพื้นนุ่มที่ไม่มีตลาด ถูกนำไปผสมกับข้าวพื้นแข็ง ทำให้คุณภาพการทำข้าวนึ่ง, เส้นก๋วยเตี๋ยว และขนมจีน ด้อยคุณภาพลง  เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวพื้นนุ่มเจือปนในข้าวชนิดอื่นๆ

รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานข้าวพื้นนุ่มขึ้นมา และทำตลาดสู่ผู้บริโภคที่ชอบบริโภคข้าวนุ่มทั้งในและต่างประเทศต่อไป เพื่อทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลกสูงขึ้น

 

ประเทศไทยกำลังจะเสียแชมป์ข้าวหอมนุ่มให้กับเวียดนาม จริงหรือ ?

นับตั้งแต่ ปี 2559-2562 สถิติการส่งออกข้าวของไทยโดยรวมลดลง 32 % ในขณะที่เวียดนามลดลงเพียง 9 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวหอมจากประเทศไทย (1.1 ล้านตัน) ต่ำกว่าเวียดนาม(1.9 ล้านตัน) จึงทำให้น่าวิตกกังวลว่าอนาคตข้าวหอมไทยคงจะไม่สดใสอย่างแน่นอน มีปัจจัยที่สำคัญ คือ ผลผลิตข้าวหอมไทย (500-600 กก/ไร่) เมื่อเทียบกับข้าวหอมเวียดนาม( >1 ตัน/ไร่) เหตุผลข้อที่สอง คือ  ราคาข้าวหอมไทย (1,190 USD/ตัน) สูงกว่าของเวียดนาม (510 USD/ตัน) เหตุผลข้อที่สาม ข้าวหอมเวียดนามมีอายุสุกแก่สั้นกว่าข้าวหอมไทยมาก ปัจจุบันผู้บริโภคมักนิยมทานข้าวนอกบ้านทำให้ร้านอาหารเป็นลูกค้าที่สำคัญ เพื่อลดต้นทุน ร้านอาหารจึงนิยมสั่งข้าวนุ่มที่ราคาถูกกว่า มาเสริฟลูกค้า

 

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมในเวียดนามอยู่ในมือของบริษัทเอกชนที่เมือง SócTrăng ไม่ใช่รัฐบาล ประเทศเวียดนามได้ทุ่มเทการยกระดับผลผลิต ขนาดเมล็ด และคุณสมบัติทางกายภาพที่ยอดเยี่ยม จนทำให้ต้นทุนผลิตต่ำกว่าไทยมาก และในปี 2018 ข้าวพันธุ์ ST24 ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดข้าวโลก ยิ่งสร้างความกังวลใจให้ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยมากขึ้น  เพื่อให้ข้าวหอมนุ่มไทยสามารถขายแข่งกับข้าวหอมเวียดนามได้ จำเป็นต้องยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น หรือ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในต้นทุนเท่าเดิมให้ได้

 

 

 

 

ข่าวสารและกิจกรรม

 

ข้าวลูกผสม

บทความแนะนำ งานวิจัยข้าว

ข้าวลูกผสม” Game-Charger of Rice“ข้าว” ซึ่งตามธรรมชาติเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะสร้างเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจึงมีซับซ้อน...

 

 

อนุมูลอิสระ คือ อะไร ? ทำไมต้องสารต้านอนุมูลอิสระ

บทความแนะนำ อนุมูลอิสระ

การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร เช่นวิตามิน อี เบ้ตาแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอลต่าง ๆ

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

    บริการวิเคราะห์จีโนม

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีแสดงผลได้ถูกต้อง เมื่อใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่ายินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้