Tags:

 

ยีนความหอม 2-AP

  • การค้นพบยีนที่ควบคุมการสร้างสารหอม 2-AP ในข้าวเป็นครั้งแรกในโลก ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในโลกในปี 2550 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อเทคโนโลยีการกดการแสดงออกของยีนส์ Os2AP และการยกระดับสารหอม 2-acetyle-1-pyrroline (Transgenic plants with reduced expression of Os2AP and elevated levels of 2-acetyl-1-pyrroline) และได้รับการรับรองแล้วในอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม อินเดีย ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และ สวิสเซอร์แลนด์ 

 

 

 

 

การพัฒนาพันธุ์ข้าว

  • การพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหารและสุขชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพเพื่อรวม “ยีนส์ต้านทาน+6” กล่าวคือ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ทนร้อน ใช้น้ำน้อยลง ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้คอรวง และ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บนฐานพันธุกรรม ข้าวเหนียว ข้าวหอม ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ และ ข้าวสี ที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพหุงต้ม และ ผลผลิตสูง มีผลงานการค้นพบสายพันธุ์ข้าวต้นแบบจำนวน 30 สายพันธุ์ เช่นข้าวหอมมะลิบวก 4  ข้าวเหนียวธัญพืชสิรินบวก 4  ข้าวหอมปิ่นดัชนี บวก 4  ข้าว Riceberry บวก 4 เป็นต้น ได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวดังกล่าวให้อ่อนโยนปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำเพิ่มขึ้นใช้น้ำน้อยลงเพื่อการให้ผลผลิต

 

 

ข้าวโภชนาการ

  • ผลงานข้าวที่โดดเด่นของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมีดังนี้ ข้าวไรซ์เบอรี่นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีนักวิจัยศึกษามากที่สุดในเชิงโภชนาบำบัด ข้าวไรซ์เบอรี่เป็นข้าวกล้องเจ้าสายพันธุ์แรกที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่ามีรสสัมผัสของข้าวกล้องที่ดีที่สุดมีกลิ่นหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมีคุณสมบัติเชิงโภชนบําบัดเป็นที่ประจักษ์สามารถนำมาแปรรูปได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจุบันมีผู้นิยมนำเอาข้าว Riceberry มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆมากที่สุดในประเทศไทย ข้าวสินเหล็กนับเป็นข้าวกล้องขาวสายพันธุ์แรกที่มีการศึกษาวิจัยเรื่องปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสีสูง แต่มีค่าดัชนีน้ำตาลของข้าวกล้องต่ำมีกลิ่นหอมมีความนุ่มน่ารับประทาน ข้าวปิ่นเกษตร +4 นับเป็นข้าวหอมขัดขาวที่มีดัชนีน้ำตาลตำเพียงไม่กี่สายพันธุ์ในโลก ข้าวปิ่นเกษตร +4 ยังมีผลผลิตสูงและใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก 

 


ภาพข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Riceberry)

 

 

 

ข้าวพันธุ์ใหม่สร้างสีสัน

  • ข้าวสรรพสีเป็นข้าวพันธุ์เดียวในโลกที่มีใบข้าวหลากสีสร้างความสวยงามให้กับผู้พบเห็นข้าวสรรพสีมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ที่มีสีเฉพาะตัวปลูกสลับกันเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สามารถสร้างปรากฏการณ์พื้นนาที่เต็มไปด้วยสีสันสามารถพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีเพียงแห่งเดียวในโลก นอกจากนั้นใบข้าวสรรพสียังทรงคุณค่าทางโภชนาการทั้งสารต้านอนุมูลอิสระอาหารและอุดมไปด้วยธาตุอาหารรองที่สำคัญเช่นธาตุเหล็ก หากเราสามารถพัฒนาใบข้าวสรรพสีไปเป็นอาหารหรือวัสดุเสริมอาหาร ก็จะช่วยทำให้มนุษย์มีอาหารพอเพียงและไม่ก่อให้เกิดโรคอ้วนและสภาพเสื่อมถอยทางการเผาผลาญอาหาร (metabolic syndrome)

  

ภาพแปลงนาข้าวสรรพสี (Rainbow rice)

 

 

 

 

การขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้า

  • ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวได้ขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อคุ้มครองอัตลักษณ์ของสินค้าที่ทรงคุณค่าจากข้าวธัญโอสถที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เช่น ไรซ์เบอร์รี สินเหล็ก และ ดัชนีน้ำตาลต่ำ

 

 

 

 ภาพเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน  (Registered trademark)

 

 

 

 

 

 

RESEARCH HIGHLIGHT

 

  • Discovering for the first time a gene responsible for biosynthesis of 2-acetyl-1-pyrroline (2AP), the potent aromatic compound in Thai Jasmine and all aromatic rice found globally. The biotechnology to enhance 2AP accumulation in any non-aromatic rice varieties was described in the patent “Transgenic plants with reduced expression of Os2AP and elevated levels of 2AP was filed for patent for the first time in USA and was granted in 2007. Later on, the patents were filed for patenting in 10 other countries such as Australia, Japan, China, Vietnam, France, U.K. the Netherlands, Germany, and Switzerland.  

 

  • Development of new rice varieties for sustainable cultivation and consumer well-being. RSC has focused on developing breeding technology platforms to precisely and efficiently integrate “Plus 6 genes” comprising tolerance to flash flooding and heat, water-used efficiency, resistance to bacterial leaf blight, leaf and neck blast, and brown planthopper. Several elite waxy, aromatic, low glycemic index (low GI), and pigmented rice varieties have been improved for the Plus 6 genes technology. RSC has registered 30 rice varieties including Hommali Rice+4, Thunya Sirin+4, PGI+4, and Riceberry+4.

 

  • There are various well-known rice cultivars from RSC. Riceberry is the most popular and well-studied pigmented rice for therapeutic properties. Cooked Riceberry after taste is well-accepted by health-conscious consumers around the world. Riceberry has also been popular among food industries for its high nutritional values and food properties. Sinlek (brown rice) and Pink+4 (PGI+4) (white rice) are among a few well-studied low GI rice in the world.

 

  • Rainbow rice is a unique rice variety expressing arrays of colorful leaves which creates great impression for observers. There are five varieties of Rainbow rice showing five streaking patterns of colorful green, white, purple, reddish pink leaves. When grown in patterns on a rice field, Rainbow rice creates unique phenomenon for one-of-a-kind agro-tourism in the world, Actually, the leaf of the Rainbow rice is naturally enriched with dietary fiber, antioxidants, micronutrients, and protein. If we can develop Rainbow rice leaves into food supplements and food ingredients, it can help reducing starvation and the risk of non-communicable diseases and metabolic syndrome.

 

  • RSC also registered several trademarks at national and international levels for distinction of quality products from organically-grown medical rice varieties including Riceberry, Sinlek, and LOGI.

 

 

 

 

         โรงสีข้าวธัญโอสถเริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่เมื่อปี 2552 โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ออกแบบเป็นทรงไทยประยุกต์ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ หลังคาสามชั้น มีความสูงถึง 18 เมตร กว้าง 24 เมตร ยาว 60 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1500 ตารางเมตร เพื่อส่งเสริมการแปรรูปข้าว เมล็ดพันธุ์และการจัดจำหน่ายข้าวกล้องและพันธุ์ข้าวพิเศษให้แก่เกษตรกร (ไรซ์เบอร์รี่และสินเหล็ก) กับกลุ่มผู้บริโภค 

 

 

 

       โรงสีข้าวธัญโอสถเป็นโรงสีระบบปิดขนาดเล็กที่ครบวงจร และเริ่มทำการผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมามีกำลังในการอบข้าวเปลือกอยู่ที่ 30 ตันต่อวัน และมีกำลังในการผลิตแปรรูปข้าว 12 ตันต่อวัน  มีกระบวนการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ประกอบด้วย ข้าวกล้อง ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้องสินเหล็ก ข้าวขัดไรซ์เบอร์รี่ และรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะทำการจัดจำหน่ายทั้งในและส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ ทั้งนี้ทางโรงสีข้าวธัญโอสถ ได้พยายามพัฒนากระบวนการผลิต  การควบคุมคุณภาพ  และการพัฒนาผลิตภัณฑ์  ตลอดถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้า  เพื่อให้ลูกค้าและผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า  สินค้าทุกชนิดที่ผลิตจากโรงสี มีคุณภาพ สะอาดปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน ให้แก่ผู้บริโภคเสมอมา

 

 

 

“ธัญโอสถ”


ได้ผ่านการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 เพื่อแสดงเป็นเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากข้าวโภชนาการสูง
โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเด่นชัดให้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยการพัฒนาเครื่องหมายคุณภาพที่
เริ่มตั้งแต่การผลิตข้าวเปลือกจากแปลงเกษตรกรจนถึงข้าวถุงที่จะส่งถึงมือผู้บริโภค
ตลอดจนคุณภาพวัตถุดิบเช่นน้ำมันรำข้าวบีบเย็น
และกากรำข้าวบีบปราศจากน้ำมัน ที่เกิดจากข้าวโภชนาการสูง

 

 

 

 

 

  

 

         โรงสีข้าว “ธัญโอสถ”  มีความมุ่งมั่นในการจัดทำคู่มือคุณภาพและพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ และความปลอดภัยทางผลิตภัณฑ์อาหาร ตามมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร(GMP&HACCP) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหาร จัดการ และการปฏิบัติงานของโรงสีข้าวธัญโอสถ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   

การนำภาพบทความในเว็บไซต์ไปใช้งาน CC BY-NC-SA 3.0 TH

 รายละเอียด 

  • แสดงที่มา อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าวโดยต้องแสงที่มา  http://dna.kps.ku.ac.th 
    Attribution - You must give appropriate credit, provide a link to the license, and indicate if changes were made. You may do so in any reasonable manner, but not in any way that suggests the licensor endorses you or your use.
  • ไม่ใช้เพื่อการค้า - อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าวได้ เฉพาะกรณีที่ไม่นำไปใช้ในทางการค้า
    Non Commercial  — You may not use the material for commercial purposes.

  • ภาพถ่าย - หากต้องการนำไปใช้ในทางการค้า หรือ ใช้งานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาต้นฉบับต้องทำการ ขออนุญาตลิขสิทธิ์ภาพก่อน

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

เว็บไซต์นี้พัฒนาโดยใช้โอเพ่นซอส

http//www.joomla.org Theme by https://agethemes.com

 

 

 

 

 

 

 

 

การสืบหายีนที่มีความสำคัญและการพัฒนาพันธ์ข้าว

เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ อันนำไปสู่การผลิตข้าวที่ยั่งยืนของประเทศ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก   การสร้างพันธ์ข้าวให้มีคุณลักษณะที่ดีเลิศทั้งในทางปริมาณและคุณภาพนั้น นักปรับปรุงพันธุ์ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงลักษณะที่ให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูง แต่ยังต้องคำนึงการป้องกันการสูญเสียผลผลิตที่เกิดจากการทำลายเชื้อโรคและแมลง และการเกิดสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ในการเจริญเติบโต เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง ดินเค็ม ดินกรด

 

ศูนย์ฯยังเป็นหน่วยปฏิบัติการฯ ศึกษาการวางตำแหน่งยีนของลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 16 ลักษณะ โดยการใช้วิธีการวางตำแหน่งยีนที่ซ้อนเลื่อมกันอย่างต่อเนื่อง (intergrated linkage maps) และใช้ยีนจาก 12 ประชากร ซึ่งยีนดังกล่าว หน่วยปฏิบัติการฯ ใช้เป็นเป้าหมายในการปรับปรุงพันธุ์ทั้งข้าวนาน้ำฝนและนาชลประทาน สำหรับข้าวนาน้ำฝนนั้นเป้าหมาย คือการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 และ กข 6 ที่มีคุณภาพหุงต้มและความหอมเหมือนพันธุ์เดิม แต่มีคุณสมบัติตามต้องการ เช่น มีความต้านทานโรคแมลงดีขึ้น ทนต่อสภาพเครียดอันเกิดจากสภาพแวดล้อมมากขึ้น กลยุทธ์นี้ทำให้เกิดการรวบยอดยีน (gene pyramid) ที่ดีไว้ด้วยกัน ในข้าวทั้งสองพันธุ์ นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพในการให้ผลผลิตขึ้นอีกด้วย สำหรับนาชลประทานเน้นที่การเพิ่มผลผลิตและมูลค่าของผลผลิต เช่น เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณอะไมโลส เป็นต้น กลยุทธ์นี้ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ของการหายีนจากการกลายพันธุ์ เพื่อสร้างพันธ์ข้าวในอุดมคติ นับเป็นความพยายามครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่ดี

 

 

การศึกษาทางด้านโครงสร้างของยีน (Structural genomics)

จากการที่หน่วยปฏิบัติการฯ ร่วมมือกับโครงการหาลำดับเบสจีโนมข้าว ( International Rice Genome Sequencing Project : IRGSP ) โดยรับผิดชอบในการหาลำดับเบสโครโมโซม 9 ค้นพบลำดับเบสจีโนมข้าวอย่างสมบูรณ์ การค้นพบดังกล่าว ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ข้าวชนิดใหม่ออกสู่เกษตรกร แต่ยังทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้พันธุ์ข้าวในอุดมคติที่มีคุณลักษณะดีเลิศเพื่อการบริโภคที่ยั่งยืนทั่วโลกในอีกหนึ่งศตวรรษ การเข้าร่วมในโครงการดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นความ
ภาคภูมิใจของประเทศ แต่ยังเป็นอีกก้าวหน้าหนึ่งที่จะไปสู่ยุคจีโนมข้าว

 

 

การค้นพบยีน (Gene discovery)

หน่วยปฏิบัติการฯ กำลังดำเนินงานวิจัยในการค้นหาตำแหน่งยีนของลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 16 ลักษณะ โดยใช้ยีนที่ควบคุมลักษณะทางปริมาณ 2 ยีนคือ ยีนทนต่อน้ำท่วมและยีนที่เกี่ยวข้องกับความหอม เป็นต้นแบบในการศึกษา และได้สร้างห้องสมุดชิ้นส่วนขนาดใหญ่จีโนม (BAC library) สำหรับข้าวหอมมะลิ 105 และ FR 13 A เพื่อทำแผนที่จีโนมทางกายภาพ (physical mapping) และหาลำดับเบสขนาดใหญ่ ในขณะนี้ประสบความสำเร็จในการหายีนและกำลังอยู่ในระหว่างการสืบค้นหน้าที่ของยีนดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายในการสืบหายีนอื่น ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับความต้านทาน พัฒนาการ การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งโภชนาการ

 

 

ชีวสารสนเทศ (Rice Gene Thresher)

การสร้างฐานข้อมูลลำดับเบสขนาดใหญ่เรียกว่า Rice Gene Thresher (http://rice.kps.ku.ac.th) เป็นแหล่งรวบรวมฐานข้อมูลข้าวสาธารณะเพื่อให้นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวและผู้สนใจ สามารถสืบค้นหาข้อมูลได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ฐานข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยลำดับเบสของมวลสารพันธุกรรมของข้าวทั้งสายพันธุ์จาโปนิกาและอินดิกา โดยประกอบด้วยแผนที่พันธุกรรมของข้าวโมเลกุลเครื่องหมาย EST ลำดับเบสดีเอ็นเอ การทำนายบทบาทหน้าที่ และการทำงานของยีนต่างๆ  รวมถึงโครงสร้างของโปรตีนซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจในการแสดงออกของยีนและโปรตีนได้ดียิ่งขึ้น

 

 

การศึกษาทางด้านการค้นหาหน้าที่ยีน (Functional genomics)

เนื่องจากประมาณ 60% Open reading frame ของจีโนมข้าวที่ยังไม่ทราบหน้าที่ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องค้นหาหน้าที่ของยีน (functional genomics) ซึ่งโดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการ 2 วิธี คือ เทคนิคทรานสเจนิกส์ (transgenics) การแสดงออกที่มากเกิน (overexpression) หรือการยับยั้งของอาร์เอ็นเอในยีนที่สนใจ (RNA interference) และเทคนิคที่เรียกว่า TILLING (targeting induced local lesions in genomes) ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฯ ได้ใช้เทคนิคนี้ในการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ทั้งจีโนมโดยใช้รังสี Fast neutron ขนาดปริมาณรังสี 13 Gy ข้าวเจ้าหอมนิลจำนวน 200,000 ต้นได้ถูกชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยวิธีดังกล่าว และทำการคัดเลือกต้นกลายพันธุ์ เพื่อนำไปสู่การหาหน้าที่ของยีนข้าว

 

 

 การปรับปรุงพันธุ์ข้าวอณูวิธี (Molecular Breeding)

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีศักยภาพสูงขึ้นจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ด้านลำดับเบสจีโนมที่เกี่ยวข้องโดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่าโมเลกุลเครื่องหมาย (Marker-Assisted Selection MAS) เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพที่ดีและผลผลิตสูง ตัวอย่างของพันธุ์ข้าวที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโดยใช้เทคนิคดังกล่าว คือข้าวหอมมะลิไตรลักษณ์ ที่ประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ ทนทานต่อน้ำท่วม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

 

 

หน้าที่ 1 จาก 2

ข่าวสารและกิจกรรม

บทความงานวิจัย

งานบริการของเรา

GENOME ANALYSIS SERVICES

Whole Genome Sequencing  | Bioinformatics | Transcriptome Sequencing  

 

บริการตรวจความหอม (2ap)

ข้าวหอมมะลิ และ พืช อื่น ๆ  

บริการตรวจความบริสุทธิ์สายพันธุ์ข้าว

Dna Profiling Laboratory & DNATEC Lab 

 

 

งานวิจัยพัฒนาพันธ์ุข้าว

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้ เพื่อให้ท่านได้รับการใช้งานเว็บไซต์ที่ดี แสดงผลได้ถูกต้อง หากคุณใช้งานเว็ปไซต์ของเราต่อถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้


© RICE SCIENCE CENTER, KASETSART UNIVESITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบล กำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัด นครปฐม 73140 ประเทศไทย
ติดต่อแอดมิน anut.su@ku.th


  (+66) 086 479 5603


Free Joomla! templates by AgeThemes